[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ
บุคคลทั่วไป
Select Language
English
Arabic
Bulgarian
Chinese (Simplified)
Chinese (Traditional)
Croatian
Czech
Danish
Dutch
Finnish
French
German
Greek
Hindi
Italian
Japanese
Korean
Norwegian
Polish
Portuguese
Romanian
Russian
Spanish
Swedish
Catalan
Filipino
Hebrew
Indonesian
Latvian
Lithuanian
Serbian
Slovak
Slovenian
Ukrainian
Vietnamese
Albanian
Estonian
Galician
Hungarian
Maltese
Thai
Turkish
ค้นหา
เมนูหลัก
หน้าแรก
ฝ่ายวิชาการ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
หลักสูตรที่เปิดสอน
ทำเนียบบุคลากร
ประมวลภาพกิจกรรม
สมุดเยี่ยม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์
สาระความรู้
โครงการ/งาน
กระดานข่าว
ดาวน์โหลด
ผลงานทางวิชาการ
contact
blog
video
Administrator
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ]
|
[ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด
5
คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์
0
คน
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ
(ตัวแสดงอารมณ์)
poll
คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
แย่
แย่มาก
ดูผลการ vote
เว็บบอร์ด
>>
ห้องนั่งเล่น
>>
ทอนซิลอักเสบ
VIEW : 482
โดย
ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม
UID :
ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว
:
31
ตอบแล้ว
:
เพศ :
ระดับ : 4
Exp : 50%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP
:
171.96.191.
xxx
เมื่อ :
จันทร์ ที่ 14 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 00:59:39
ทอนซิลอักเสบ
ทอนซิลอักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อของทอนซิลซึ่งเป็นต่อมคู่ข้างซ้ายและขวา (เป็นต่อมน้ำเหลืองในลำคอที่อยู่ด้านข้างใกล้กับโคนลิ้น มีหน้าที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ลำคอ เช่น จากอาหาร น้ำดื่ม และการหายใจ จัดเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่สำคัญ สามารถตัดออกได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะยังมีต่อมน้ำเหลืองในช่องคออีกมากที่ทำหน้าที่นี้แทนได้) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอเป็นสำคัญ ส่วน “คออักเสบ” (Pharyngitis) นั้น มักใช้เรียกภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป ซึ่งบางครั้งภาวะทั้งสองนี้อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้
โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีทั้งกลุ่มโรคติดเชื้อและกลุ่มโรคไม่ติดเชื้อ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงการอักเสบจากโรคติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “เบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ” (Group A beta-hemolytic streptococcus) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีเนส” (Streptococcus pyogenes) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้
เบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ
IMAGE SOURCE : emedicine.medscape.com
การอักเสบของทอนซิล สามารถพบได้ทั้งการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ซึ่งมักมีอาการรุนแรงกว่า แต่รักษาให้หายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ และการอักเสบเรื้อรังที่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งจะมีอาการแต่ละครั้งน้อยกว่าชนิดเฉียบพลัน ซึ่งนิยามของทอนซิลอักเสบเรื้อรัง คือ ทอนซิลอักเสบเกิดขึ้นอย่างน้อย 7 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา หรืออย่างน้อย 5 ครั้งทุกปีติดต่อกันใน 2 ปีที่ผ่านมา หรืออย่างน้อย 3 ครั้งทุกปีติดต่อกันใน 3 ปีที่ผ่านมา (ทอนซิลอักเสบเฉียบพลันหากเป็นบ่อย ๆ ทอนซิลจะโตขึ้น แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นแบบเรื้อรัง และอาจมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันแบบเป็น ๆ หาย ๆ ได้ ซึ่งการที่ทอนซิลโตขึ้นนี้จะทำให้เกิดร่องหรือซอก ซึ่งจะทำให้มีเศษอาหารเข้าไปตกค้างได้ง่าย และอาจทำให้เกิดการอักเสบยืดเยื้อออกไป)
ทอนซิลอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้บ่อยในเด็กอายุก่อน 10 ปี (เพราะหลังจาก 10 ปีไปแล้ว ต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย) และในผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปีก็ยังอาจเป็นโรคนี้กันได้อยู่ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่วัยกลางคนไปแล้ว ส่วนโอกาสในการเกิดทั้งในเพศชายและเพศหญิงมีเท่ากัน (ในเด็กก่อนวัยเรียนมักเกิดจากเชื้อไวรัส และติดต่อกันได้ง่าย เพราะไม่รู้จักป้องกัน ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย)
สาเหตุทอนซิลอักเสบ
ส่วนใหญ่ประมาณ 70-80% เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งเชื้อไวรัสอื่น ๆ อีกหลายชนิด มีบางส่วนประมาณ 15-20% เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และอีกประมาณ 5% เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
เชื้อจะมีอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถติดต่อกันได้โดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือติดต่อโดยการสัมผัสมือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ (เช่น แก้วน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดหน้า) หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับในโรคไข้หวัดทั่วไปและในโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อนิ้วมือที่แปดเปื้อนเชื้อสัมผัสกับปากหรือจมูก เชื้อก็จะเข้าไปในคอหอยและทอนซิล
สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญ คือ เบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic streptococcus – GABHS) ที่ก่อให้เกิดทอนซิลอักเสบชนิดเป็นหนอง (Exudative tonsillitis) ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กอายุ 5-15 ปี และอาจพบได้บ้างประปรายเป็นครั้งคราวในผู้ใหญ่ แต่จะพบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โรคนี้อาจติดต่อในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน เช่น ในบ้าน ที่ทำงาน หอพัก โรงเรียน เป็นต้น
ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) คือ ประมาณ 2-7 วัน แต่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดดังกล่าวอาจสั้นเพียง 12 ชั่วโมง
ต่อมทอนซิลอักเสบ
IMAGE SOURCE : fortworthent.net (รูปซ้ายคือทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนรูปขวาคือทอนซิลอักเสบจากเชื้อไวรัส)
อาการทอนซิลอักเสบ
ทอนซิลอักเสบจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่จะไม่เจ็บมากขึ้นตอนกลืน อาจมีอาการหวัด ไอ คัดจมูก มีน้ำมูกใสแต่ไม่มาก เสียงแหบ มีไข้ไม่สูงมาก ปวดศีรษะเล็กน้อย ตาแดง (เยื่อตาขาวอักเสบ) และบางรายอาจมีอาการท้องเดินหรือถ่ายเหลวร่วมด้วย
ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีไข้หรือไม่ก็ได้ ทอนซิลทั้งสองข้างอาจโตเล็กน้อย ซึ่งมักจะมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อยหรือไม่ชัดเจน
ทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอมากจนกลืนน้ำและอาหารได้ลำบาก ร่วมกับมีอาการไข้สูงมากกว่า 38.3 องศาเซลเซียสเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีกลิ่นปาก และอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หู (เพราะการอักเสบของคอมักส่งผลถึงการอักเสบของหู เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ติดต่อถึงกันได้จากหูชั้นกลางซึ่งมีท่อเช่ือมต่อกับลำคอ) บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล ไอ หรือตาแดงแบบการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส
ทอนซิลทั้งสองข้างมีลักษณะบวมโต สีแดงจัด และมักมีแผ่นหรือจุดหนองขาว ๆ เหลือง ๆ ติดอยู่บนทอนซิล ซึ่งเขี่ยออกง่าย นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้าหรือใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ
ภาวะแทรกซ้อนของทอนซิลอักเสบ
ทอนซิลอักเสบจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา (ซึ่งมักไม่ร้ายแรง) ส่วนผู้ที่เป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
ทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ โดยทั่วไปถ้าผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะที่ถูกกับโรค อาการมักจะทุเลาลงหลังกินไปได้ประมาณ 48-72 ชั่วโมง แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือรับประทานยาไม่ครบก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนี้
เชื้ออาจลุกลามเข้าไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ ฝีที่ทอนซิล (Peritonsillar abscess) ซึ่งอาจโตจนทำให้ผู้ป่วยกลืนลำบากหรือหายใจลำบาก
เชื้ออาจเข้าสู่กระแสเลือดแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน กระดูกอักเสบเป็นหนอง (Osteimyelitis)
ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง (Autoimmune reaction) กล่าวคือ ภายหลังจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดดังกล่าว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อขึ้นมา แล้วไปก่อปฏิกิริยาต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง คือ ไข้รูมาติก (มีการอักเสบของข้อและหัวใจ หากปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจพิการและหัวใจวายได้) และหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (มีไข้ บวม ปัสสาวะมีสีแดง และอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้) ซึ่งโรคแทรกซ้อนเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังทอนซิลอักเสบได้ประมาณ 1-4 สัปดาห์ สำหรับไข้รูมาติกจะมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 0.3-3% ของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง
ทอนซิลอักเสบ
HonestDocs
[url]https://www.honestdocs.co/tonsillitis-causes-symptoms-and-treatments[/url]
[url]www.honestdocs.co[/url]
[
อ้างอิง
]
Re หัวข้อ :
รูปประกอบ :
จำกัดขนาด 100 kB
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :
แผนกวิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
90 ถ.กสิกรรม ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
@2014-2015 under
GNU General Public License
Edit&Applied by
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
Power by :
FreeBSD.org