[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ
บุคคลทั่วไป
Select Language
English
Arabic
Bulgarian
Chinese (Simplified)
Chinese (Traditional)
Croatian
Czech
Danish
Dutch
Finnish
French
German
Greek
Hindi
Italian
Japanese
Korean
Norwegian
Polish
Portuguese
Romanian
Russian
Spanish
Swedish
Catalan
Filipino
Hebrew
Indonesian
Latvian
Lithuanian
Serbian
Slovak
Slovenian
Ukrainian
Vietnamese
Albanian
Estonian
Galician
Hungarian
Maltese
Thai
Turkish
ค้นหา
เมนูหลัก
หน้าแรก
ฝ่ายวิชาการ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
หลักสูตรที่เปิดสอน
ทำเนียบบุคลากร
ประมวลภาพกิจกรรม
สมุดเยี่ยม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์
สาระความรู้
โครงการ/งาน
กระดานข่าว
ดาวน์โหลด
ผลงานทางวิชาการ
contact
blog
video
Administrator
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ]
|
[ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด
5
คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์
0
คน
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ
(ตัวแสดงอารมณ์)
poll
คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
แย่
แย่มาก
ดูผลการ vote
เว็บบอร์ด
>>
ห้องนั่งเล่น
>>
วัณโรคปอด
VIEW : 736
โดย
ดร. ภัทร
UID :
ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว
:
27
ตอบแล้ว
:
เพศ :
ระดับ : 4
Exp : 21%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP
:
43.249.60.
xxx
เมื่อ :
จันทร์ ที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 16:37:11
วัณโรคปอด
วัณโรคปอด เป็นโรคระบาดที่ทำลายชีวิตมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ ต่อมาเมื่อค้นพบยารักษาวัณโรคจึงสามารถควบคุมได้ แต่ในระยะ 10 กว่าปีมานี้ วัณโรคกลับระบาดและทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศยากจน คาดว่ามีประชากรหนึ่งในสามติดเชื้อวัณโรคและเสียชีวิตเกือบล้านคนต่อปี ปัจจุบันประเทศไทยนับเป็นประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง โดยก่อนนี้การป่วยเป็นวัณโรคของผู้ใหญ่ในประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ครั้นประมาณปี 2543 กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและมีความร้ายแรงขึ้นมาก ทั้งนี้เนื่องจากระบาดของเชื้อเอดส์ จึงทำให้วัณโรคแม้จะดูเป็นโรคธรรมดาแต่สามารถทำให้เสียชีวิตได้ วัณโรคปอดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ ทุเบอร์เคิล แบซิลลัส นอกจากทำให้เกิดวัณโรคแล้วยังสามารถเกิดวัณโรคกับอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ลำไส้ ผิวหนัง แต่ร้อยละ 80 จะเกิดขึ้นที่ปอด เชื้อวัณโรคมีความทนทานมาก จึงอยู่ได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นน้ำ อาหาร อาการ แช่อยู่ในน้ำแข็งได้เป็นร้อยวัน ทนความร้อน สารเคมี และอยู่ในที่มืดได้ถึงครึ่งปี แต่ไม่ทนแสงแดดจึงมักจะตายอยู่ในแสงแดด
การติดต่อ
เชื้อซึ่งอยู่ในปอดของผู้ป่วยจะออกมาอยู่ในบรรยายกาศขณะที่ผู้ป่วยไอ จาม บ้วนน้ำลาย ขากเสมหะ เมื่อเสมหะแห้งจึงฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ดังนั้นจึงติดต่อได้ทั้งการสูดเชื้อเข้าไปในปอดหรือการสัมผัสสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อ เนื่องจากเชื้อวัณโรคปอดแพร่กระจายทางเดินหายใจมากที่สุด จึงพบเชื้อโรคได้ทั้งในบริเวณที่มีผู้ป่วยอยู่ บริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน หนาแน่นหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า โรงพยาบาล ห้องที่อับ เป็นต้น คนส่วนใหญ่จึงเคยสัมผัสเชื้อวัณโรคมาแล้วเกือบทั้งนั้น การจะป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
1 สภาวะร่างกาย ความแข็งแรงของแต่ละบุคคล คนที่อ่อนแอ เช่น เด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรงเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ผู้ที่มีสุขภาพทรุดโทรม เช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง โรคเอดส์หรือผู้ที่ได้ยากดภูมิคุ้มกันจะเป็นวัณโรคง่ายกว่าคนแข็งแรง
2 ปริมาณเชื้อที่ได้รับ คนที่อยู่บริเวณที่มีเชื้อมาก โอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนที่อยู่บริเวณที่มีเชื้อน้อย
อาการ อาการในระยะแรกจะสังเกตได้ยากเพราะเกิดขึ้นช้าๆ เป็นทีละเล็กละน้อย ผู้ป่วยจึงไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค อาการที่พบได้คือ
1 มีไข้เรื้อรังต่ำๆ จนอาจไม่ได้สังเกต มักจะเป็นตอนเย็นหรือตอนบ่าย
2 เหงื่อออกตอนกลางคืน
3 อ่อนเพลียเป็นประจำแม้ว่าจะพักผ่อนเพียงพอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
4 ไอเรื้อรังแห้งๆ นานเป็นเดือน อาจไอน้อยหรือมากก็ได้ แต่เมื่อเป็นหนักขึ้นอาจไอเสียงดังโขลกๆมีเสมหะด้วย อาจรู้สึกเจ็บชายโครงเวลาไอ จะมีไอปนเลือดได้ในกรณีที่โรคลุกลามไปที่หลอดเลือดปอด
5 อาการแทรกซ้อนอาจพบได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในปอดมีน้ำในช่องหุ้มปอด และหากเชื้อแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ ก็จะกลายเป็นวัณโรคของอวัยวะนั้นๆ
การวินิจฉัย
- อาการและอาการแสดงดังกล่าวแล้ว
- ย้อมเสมหะ เป็นวิธีง่ายได้ผลเร็วแต่ต้องเก็บอย่างถูกวิธีและต้องเป็นเสมหะที่ไอจากหลอดลมส่วนลึก
- เอกซเรย์ปอด
- วิธีอื่นๆ เช่น การเพาะดูเชื้อ ทดสอบความไวของเชื้อ ตรวจชิ้นเนื้อซึ่งอาจทำเป็นเพียงบางรายแล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์
การรักษา
วัณโรครักษาด้วยยาซึ่งมีหลายชนิด ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้ร่วมกัน ตัวอย่างยาที่รักษา เช่น Isoniazid Rifampicin Pyracinamide Ethambutol Streptomycin ระยะเวลาในการให้ยาอย่างน้อยที่สุด 6 เดือน ถึง 2 ปีครึ่ง แม้วัณโรคจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้เช่นกัน ดังนั้น เป้าหมายที่สำคัญในการรักษาคือ รักษาให้หายขาดเพื่อตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและป้องกันการดื้อยาของเชื้อวัณโรค การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ มีบ้างแต่น้อย เช่น รักษาด้วยวิธีผ่าตัด ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีรอยโรคเฉพาะตำแหน่งหรือรับประทานยาแล้วมีผลข้างเคียงสูง
วัณโรคปอด
Honestdocs
[url]https://www.honestdocs.co/tuberculosis-death-causes[/url]
[url]https://www.honestdocs.co[/url]
[
อ้างอิง
]
โดย
Ligaz
UID :
ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว
:
4
ตอบแล้ว
:
1
ระดับ : 1
Exp : 100%
IP
:
119.76.28.
xxx
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 16 ต.ค.. 2563 : 13:22
ligaz888
[
อ้างอิง
]
1
Re หัวข้อ :
รูปประกอบ :
จำกัดขนาด 100 kB
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :
แผนกวิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
90 ถ.กสิกรรม ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
@2014-2015 under
GNU General Public License
Edit&Applied by
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
Power by :
FreeBSD.org