[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ
บุคคลทั่วไป
Select Language
English
Arabic
Bulgarian
Chinese (Simplified)
Chinese (Traditional)
Croatian
Czech
Danish
Dutch
Finnish
French
German
Greek
Hindi
Italian
Japanese
Korean
Norwegian
Polish
Portuguese
Romanian
Russian
Spanish
Swedish
Catalan
Filipino
Hebrew
Indonesian
Latvian
Lithuanian
Serbian
Slovak
Slovenian
Ukrainian
Vietnamese
Albanian
Estonian
Galician
Hungarian
Maltese
Thai
Turkish
ค้นหา
เมนูหลัก
หน้าแรก
ฝ่ายวิชาการ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
หลักสูตรที่เปิดสอน
ทำเนียบบุคลากร
ประมวลภาพกิจกรรม
สมุดเยี่ยม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์
สาระความรู้
โครงการ/งาน
กระดานข่าว
ดาวน์โหลด
ผลงานทางวิชาการ
contact
blog
video
Administrator
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ]
|
[ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด
5
คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์
0
คน
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ
(ตัวแสดงอารมณ์)
poll
คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
แย่
แย่มาก
ดูผลการ vote
เว็บบอร์ด
>>
ห้องนั่งเล่น
>>
แผลในกระเพาะอาหาร
VIEW : 490
โดย
ดร. ภัทร
UID :
ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว
:
27
ตอบแล้ว
:
เพศ :
ระดับ : 4
Exp : 21%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP
:
43.249.60.
xxx
เมื่อ :
อังคาร ที่ 26 เดือน กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 16:53:33
แผลในกระเพาะอาหาร
แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) คือ แผลที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุของกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น อาการที่พบได้บ่อยคือปวดท้อง มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร หรือการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดเป็นเวลานาน เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เป็นต้น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แผลในกระเพาะอาหารพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
อาการของแผลในกระเพาะอาหาร
อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหารคือ ปวดท้องหรือแสบที่กระเพาะอาหาร มักมีอาการตอนท้องว่างหรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร อาจตื่นกลางดึกจากอาการปวดหรือแสบท้อง อาการจะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารหรือยาลดกรด และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้
แสบร้อนกลางอก
คลื่นไส้ อาเจียน
หายใจลำบาก
รู้สึกจะเป็นลม
น้ำหนักลดลง
เบื่ออาหาร
อาหารไม่ย่อย
เรอ แน่นท้อง หรือท้องอืด หลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
ควรไปพบแพทย์หากพบอาการข้างต้นหรือมีอาการปวดอีกครั้งหลังรับประทานยาลดกรด และควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนหากอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด รู้สึกเจ็บแปลบที่ท้อง หรือมีอาการแย่ลง
สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร
ในระบบทางเดินอาหารจะมีชั้นเมือก (Mucous) เคลือบอยู่ หากปริมาณของน้ำเมือกและกรดไม่สมดุลกัน จะทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุของกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้ โรคแผลในกระเพาะอาหารมีหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori) จะอาศัยอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคืองและเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเสียหายจากกรดในกระเพาะอาหาร ติดเชื้อได้กับทุกวัย แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดผู้ป่วยบางรายจึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรได้มากกว่าผู้ป่วยรายอื่น ๆ
การใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) นาโปรเซน (Naproxen) รวมถึงยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs) อื่น ๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่ใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ ได้แก่
ยาสเตียรอยด์ (Steroids)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) วอร์ฟาริน (Warfarin)
ยารักษาโรคซึมเศร้า (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) เช่น ไซตาโลแพรม (Citalopram) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) เซอร์ทราลีน (Sertraline)
ยารักษาโรคกระดูกพรุน เช่น อะเลนโดรเนท (Alendronate) ไรซีโรเนต (Risedronate)
ปัจจัยอื่น ๆ และพฤติกรรมบางอย่าง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เช่น
การสูบบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอล์
การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด
ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
พบได้มากขึ้นในผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ผู้ที่มีระดับแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)
แผลในกระเพาะอาหาร
Honestdocs
[url]https://www.honestdocs.co/stomach-ulcer-acid[/url]
[url]https://www.honestdocs.co[/url]
[
อ้างอิง
]
Re หัวข้อ :
รูปประกอบ :
จำกัดขนาด 100 kB
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :
แผนกวิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
90 ถ.กสิกรรม ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
@2014-2015 under
GNU General Public License
Edit&Applied by
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
Power by :
FreeBSD.org