[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 5 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ฝากข้อความ
    ชื่อ :
    ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
    poll

       คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


    1. ดีมาก
    2. ดี
    3. ปานกลาง
    4. แย่
    5. แย่มาก




      

       เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
    ดัชนีมวลกาย Body Mass Index (BMI)  VIEW : 579    
    โดย K. Somboon

    UID : ไม่มีข้อมูล
    โพสแล้ว : 3
    ตอบแล้ว :
    เพศ :
    ระดับ : 1
    Exp : 60%
    เข้าระบบ :
    ออฟไลน์ :
    IP : 58.10.107.xxx

     
    เมื่อ : อาทิตย์ ที่ 4 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 เวลา 13:23:12    ปักหมุดและแบ่งปัน

    ดัชนีมวลกาย
    การวัดดัชนีมวลร่างกาย Body Mass Index (BMI) คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง ที่ใช้บ่งว่าอ้วนหรือผอม ในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ความสำคัญของการรู้ค่าดัชนีมวลร่างกาย เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ถ้าค่าที่คำนวนได้ มากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ผอมเกินไป ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายลดลง ดังนั้นควรรักษาระดับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    สูตรคำนวณดัชนีมวลกายคือ [ดัชนีมวลกาย= น้ำหนักตัว / ความสูง ยกกำลังสอง]
    40 หรือมากกว่านี้ : โรคอ้วนขั้นสูงสุด
    35.0 - 39.9: โรคอ้วนระดับ2 คุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วน หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติคุณจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูง คุณต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
    28.5 - 34.9: โรคอ้วนระดับ1 และหากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.(ชาย) 80 ซม.(หญิง) คุณจะมีโอกาศเกิดโรคความดัน เบาหวานสูง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
    23.5 - 28.4: น้ำหนักเกิน หากคุณมีกรรมพันธ์เป็นโรคเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูงต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
    18.5 - 23.4: น้ำหนักปกติ และมีปริมาณไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติ มักจะไม่ค่อยมีโรคร้าย อุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่อ้วนกว่านี้
    น้อยกว่า 18.5: น้ำหนักน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะเกิดจากนักกีฬาที่ออกกำลังกายมาก และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขต้องรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณพลังงานเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
       ดัชนีมวลกาย bmi หาค่าอย่างไร แล้วลองมาเช็กดูซิว่า ค่าดัชนีมวลกายของเราอยู่ในเกณฑ์ไหน
              จะว่าไป บางทีเราก็ไม่รู้ตัวเหมือนกันนะว่าตอนนี้ตัวเอง "อ้วน" หรือ "ผอม" เกินไป เพราะดูเผิน ๆ แค่รูปร่างภายนอกก็สรุปไม่ได้เหมือนกัน ว่า น้ำหนักกับส่วนสูงของเราสมดุลกันหรือเปล่า แต่เรามีวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณรู้ตัวเองได้ว่าตอนนี้รูปร่างของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือผิดปกติไหมนะ นั่นก็คือ การหาค่าดัชนีมวลกายนั่นเอง
     แล้วดัชนีมวลกายคืออะไรล่ะ?
              ดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว ต่อความสูงของมนุษย์นั่นเอง ซึ่ง Adolphe Quetelet ชาวเบลเยียม เป็นผู้คิดค้นขึ้น และถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว 
     หาค่าดัชนีมวลกายได้อย่างไร?
              ง่าย ๆ แค่ต้องรู้ตัวเลข 2 อย่าง คือ "น้ำหนักของตัวเอง" (หน่วยเป็นกิโลกรัม) และ "ส่วนสูงของตัวเอง" (หน่วยเป็นเมตร) ตัวอย่างเช่น เราน้ำหนัก 60 กิโลกรัม มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร หรือเท่ากับ 1.6 เมตร ก็จำเลข 60 กิโลกรัม กับส่วนสูง 1.6 เมตรเอาไว้ ถ้าพร้อมแล้วก็มาลองคำนวณดัชนีมวลกายของตัวเองดูกันเลย 
     สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย
              BMI = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง
              ถ้าเราหนัก 60 กิโลกรัม สูง 1.6 เมตร ก็จะคำนวณได้เป็น 60 หารด้วย (1.6x1.6) = 23.43
              จำตัวเลขที่เราคำนวณไว้ให้ดีนะจ๊ะ เพราะเราจะนำตัวเลขที่ออกมานี้แหละไปเทียบกับเกณฑ์ต่อไปนี้
    ดัชนีมวลกาย ค่า bmi
     มาดูเกณฑ์ประเมินค่าดัชนีมวลกาย
              สำหรับค่านี้กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)
     
               ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป
               ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-24.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ
               ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 25-29.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน
               ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 30-39.9 >>> คุณอ้วนแล้ว !
               ค่าที่ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 40 >>> คุณอ้วนเกินไป อันตรายมาก !!!
              เห็นเกณฑ์ข้างต้น หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมตัวเลขเกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบไม่ตรงกับที่เคยรู้มา อันนี้ต้องบอกก่อนค่ะว่า ค่านี้เป็นค่าที่ใช้ในประเทศเมืองหนาว แต่ถ้านำมาเทียบกับคนเอเชีย ซึ่งเป็นเมืองร้อน จะมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขนิดหน่อย เพื่อให้เหมาะสมกับเมืองร้อนที่ไม่จำเป็นต้องมีไขมันไว้ปกป้องร่างกายจากอากาศหนาว ๆ มากนัก ดังนั้น ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมสำหรับชาวเอเชียจะต้องเป็น
               ค่าที่ได้น้อยกว่า 18.5 >>>> คุณผอมเกินไป
               ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 >>> คุณอยู่เกณฑ์เหมาะสม น้ำหนักตัวปกติ
               ค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 23-24.9 >>> คุณน้ำหนักเกิน แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วน
               ค่าที่ได้มากกว่า 25-29.9 >>> คุณอ้วนแล้ว ! 
               ค่าที่ได้มากกว่า 30 >>> คุณอ้วนเกินไป เสี่ยงที่จะเกิดโรคที่มาจากความอ้วน
              ดังนั้น จากที่เราคำนวณได้ค่า 23.43 ถ้าเป็นคนเอเชียก็เท่ากับน้ำหนักเกินไปนิดหน่อยจ้า แต่ยังไม่เรียกว่าอ้วนนะ 
              อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องบอกก็คือ ค่าดังกล่าวไม่สามารถใช้ได้กับคนที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก ๆ อย่างนักกีฬา นักเพาะกาย หรือหนุ่ม ๆ ที่ชอบฟิตกล้ามนะจ๊ะ เพราะคนกลุ่มนี้อาจจะมีน้ำหนักมาก แต่ก็ไม่จัดว่าอ้วน
              ลองนำสูตรนี้ไปคำนวณกับตัวเองดูได้เลย อย่างน้อยก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เตือนให้เราได้รู้ตัวกันเนอะ เพราะถ้าอ้วนเกินไป รับรองว่าต้องเจอโรคร้ายมารุมเร้าแบบไม่ต้องกวักมือเรียกแน่นอน จะได้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไว ยิ่งปรับเร็วเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น
    Source: HonestDocs