[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 5 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ฝากข้อความ
    ชื่อ :
    ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
    poll

       คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


    1. ดีมาก
    2. ดี
    3. ปานกลาง
    4. แย่
    5. แย่มาก




      

       เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
    ซิฟิลิส (Syphilis)  VIEW : 565    
    โดย K. Somboon

    UID : ไม่มีข้อมูล
    โพสแล้ว : 3
    ตอบแล้ว :
    เพศ :
    ระดับ : 1
    Exp : 60%
    เข้าระบบ :
    ออฟไลน์ :
    IP : 58.10.107.xxx

     
    เมื่อ : จันทร์ ที่ 5 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 เวลา 21:10:29    ปักหมุดและแบ่งปัน

    โรคไข้หวัดใหญ่

    ไข้หวัดใหญ่ หรือ ฟลู (Influenza, Flu) เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจเช่นเดียวกับโรคหวัด แต่เกิดจากไวรัสคนละชนิดและมีความรุนแรงสูงกว่าโรคหวัดธรรมดามาก โรคนี้พบเป็นสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัวร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะผิดพลาดได้

    เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกเพศวัย ตั้งแต่ในเด็กจนถึงผู้สูงอายุ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดใกล้เคียงกัน เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีอุบัติการณ์สูงในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และในช่วงฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ในบางปีอาจพบมีการระบาดใหญ่

    จากสถิติของสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ.2558 ในประเทศไทยพบผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 75,114 ราย (คิดเป็นอัตราป่วย 115.34 ต่อประชากร 100,000 ราย) และมีอัตราการเสียชีวิต 28 ราย (คิดเป็นอัตราตาย 0.04 ต่อประชากร 100,000 ราย) อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 0.86 ส่วนกลุ่มอายุที่พบได้มากที่สุดเรียงตามลำดับ คือ 25-34 ปี (11.79%), 15-24 ปี (11.37%), 35-44 ปี (10.38%) ส่วนจังหวัดที่มีอัตราการป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก (จากมากไปน้อย) คือ เชียงใหม่, กรุงเทพฯ, ตราด, ลำปาง และพระนครศรีอยุธยา

    สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

    สาเหตุ : เกิดจาก “เชื้อไข้หวัดใหญ่” ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า “อินฟลูเอนซา” (Influenza virus) ซึ่งมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย (เชื้อชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า Orthomyxovirus)

    ชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ : ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เอ บี และซี โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ มักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรง อาจพบระบาดได้กว้างขวาง และสามารถกลายพันธุ์แตกแขนงเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ ได้ ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดบีนั้น จะก่อความรุนแรงและการระบาดของโรคได้น้อยกว่าชนิดเอ สามารถกลายพันธุ์ได้ แต่ไม่มากเท่าชนิดเอ ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดซี จะก่อให้เกิดอาการเพียงเล็กน้อยและมักไม่ค่อยพบการระบาด

    ไข้หวัดใหญ่เกิดจากอะไร

    ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ : เป็นชนิดที่สามารถพบได้ทั้งในคนและในสัตว์ (ส่วนชนิดบีและซีจะพบได้เฉพาะในคนเท่านั้น) สามารถแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ โดยมีชื่อเรียกตามชนิดของโปรตีนที่พบบนผิวของเชื้อไวรัส โปรตีนดังกล่าวมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ ฮีแม็กกลูตินิน (Hemagglutinin ตัวย่อ H) ซึ่งมีอยู่ 16 ชนิดย่อย (H1-H16) และนิวรามินิเดส (Neuraminidase ตัวย่อ N) ซึ่งมีอยู่ 9 ชนิดย่อย (N1-N9) ในการกำหนดชื่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ จึงใช้ตัวย่อ H ควบคู่กับ N โดยมีตัวเลขกำกับท้ายตัวย่อแต่ละตัวตามชนิดของโปรตีน เช่น

    • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 (สายพันธุ์เก่า) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกในปี พ.ศ.2461-2462 ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 20-40 ล้านราย และเนื่องจากมีต้นตอจากประเทศสเปน จึงมีชื่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สเปน” (Spanish) และกลับมาระบาดใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ.2520 ที่มีชื่อว่า “ไข้หวัดใหญ่รัสเซีย” เนื่องจากมีต้นตอมาจากประเทศรัสเซีย
    • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 สายพันธุ์ใหม่ (สายพันธุ์ 2009) พบการระบาดใหญ่ทั่วโลกในปี พ.ศ.2552 โดยเป็นสายพันธุ์ H1N1 ที่กลายพันธุ์ ประกอบไปด้วยสารพันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบในหมู สัตว์ปีก และคน ซึ่งมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เก่า และมีต้นตอมาจากประเทศเม็กซิโก (เชื้อสามารถแพร่กระจายตั้งแต่ 1 วัน ก่อนมีอาการ แพร่ได้มากที่สุดใน 3 วันแรกของการเจ็บป่วย และอาจแพร่ได้จนถึงวันที่ 7 ของการเจ็บป่วย)
    • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H2N2 เป็นต้นเหตุการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในเอเชีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 1 ล้านราย ซึ่งพบในปี พ.ศ.2500-2501
    • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H3N2 เป็นต้นเหตุการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในฮ่องกง ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 7 แสนราย ซึ่งพบในปี พ.ศ.2511-2512
    • ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H5N1 เป็นต้นเหตุการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกหลัก แต่ในช่วงที่ผ่านมาที่เคยเป็นข่าวดังก็เนื่องมาจากไวรัสสายพันธุ์นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงทำให้มีการติดต่อมาสู่คนหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้ และมีความแรงสูง ทำให้เสียชีวิตได้ หรือที่เรียกว่า ไข้หวัดนก (Avian influenza) แต่ยังโชคดีตรงที่ว่าการติดต่อมาสู่คนนั้นไม่ง่ายนัก ต้องสัมผัสใกล้ชิดมาก อีกทั้งการติดต่อจากคนสู่คนก็เกิดขึ้นได้น้อย จึงสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อชนิดนี้ได้

    ไข้หวัดใหญ่ในคน : สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดการระบาดทั่วโลก

    • ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มักเกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่พบกันมานานแล้ว แต่เนื่องจากเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ตลอดเวลา จึงทำให้คนที่เคยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ไปแล้วสามารถกลับมาป่วยซ้ำได้อีกถ้าเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่อาการมักจะไม่รุนแรง เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันอยู่บ้างแล้ว
    • ไข้หวัดใหญ่ที่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ อย่างไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเชื้อไวรัส H1N1 ไปจากเดิมมาก ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงทำให้เกิดการระบาดหรือติดเชื้อเป็นวงกว้าง

    การติดต่อ : เชื้อไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย โดยติดต่อทางการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรืออาจติดต่อโดยการสัมผัส กล่าวคือ เชื้ออาจติดอยู่ที่มือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ (เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หนังสือ โทรศัพท์ ของเล่น เป็นต้น) หรือสิ่งแวดล้อม เมื่อคนปกติมาสัมผัสถูกมือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อ เชื้อก็จะติดมากับมือของคน ๆ นั้น เมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะไชจมูกเชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายจนกลายเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ นอกจากนี้ เชื้อไว้หวัดใหญ่ยังสามารถแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne transmission) ได้ด้วย กล่าวคือ เชื้อจะติดอยู่ในละอองฝอย ๆ เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เชื้อจะสามารถกระจายออกไปในระยะไกลและแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน เมื่อคนปกติมาสูดเอาอากาศที่มีฝอยละอองนี้เข้าไป หรือละอองสัมผัสกับเยื่อตาหรือเยื่อเมือกช่องปาก (ไม่จำเป็นต้องไอหรือจามรดใส่กันตรง ๆ) ก็สามารถทำให้ติดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โรคไข้หวัดใหญ่สามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการแพร่กระจายของเชื้อจะเกิดขึ้นสูงสุดในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการเจ็บป่วย

    ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนแสดงอาการ) : ประมาณ 1-4 วัน และมีส่วนน้อยอาจนานเกิน 7 วัน

    อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

    มักเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยอาการไข้สูง 38-41 องศาเซลเซียส หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก (โดยเฉพาะที่กระเบนเหน็บ ต้นแขน และต้นขา) ปวดศีรษะมาก ปวดกระบอกตาเวลาตาเคลื่อนไหว มีน้ำตาไหลเมื่อมีแสงสว่าง อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บในคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย แต่บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูกหรือเป็นหวัดเลยก็ได้

    • ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อน เช่น มีน้ำมูกหรือเสมหะข้นเหลืองหรือเขียว ปวดหู อื้อหู หายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด ไอรุนแรง หนาวสั่น ซึม มึนงง และ/หรือหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
    • อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-7 วัน (ที่พบบ่อยคือ 3-5 วัน) ส่วนอาการไอและอ่อนเพลีย อาจเป็นอยู่ประมาณ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาลงแล้วก็ตาม
    • ผู้ป่วยบางรายเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้วอาจมีอาการบ้านหมุน เนื่องจากอาการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน

    อาการไข้หวัดใหญ่

    ภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่

    ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักหายจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น แต่มีเพียงส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ ดังนี้

    • ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย (ชนิดไม่รุนแรง) คือ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หลอดลมพอง หูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ (หูติดเชื้อ, หูน้ำหนวก)
    • ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ (ชนิดรุนแรง) คือ ปอดอักเสบ ซึ่งมักจะเกิดจากแบคทีเรียพวกนิวโมค็อกคัส หรือสแตฟีโลค็อกคัส (เชื้อชนิดหลังนี้มักทำให้เป็นปอดอักเสบร้ายแรงถึงตายได้) บางรายก็อาจเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่
    • ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ สมองอักเสบ และ/หรือเยื่อหุ้มมองอักเสบ เกิดอัมพาต ชัก แขนขาอ่อนแรง และโคม่า, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis), กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis), หลอดเลือดดำอักเสบร่วมกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (Thrombophlebitis), ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น, ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่ (เช่น หัวใจวาย) เป็นต้น
    • ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบ มักเกิดในผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ, ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี, สตรีตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2-3, คนอ้วน, ผู้ที่สูบบุหรี่จัด, ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคหืด, ผู้ป่วยโรคเรื้อรังทางปอดหรือหัวใจ, ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง, ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ

    การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่

    ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการไข้สูง 38.5-40 องศาเซลเซียส เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลยก็ได้ ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บคอ ส่วนมากแพทย์มักจะตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ ยกเว้นในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน ก็อาจตรวจพบอาการของภาวะแทรกซ้อน เช่น ฟังปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) ในผู้ที่เป็นปอดอักเสบ เสียงอึ๊ด (Rhonchi) ในผู้ที่เป็นหลอดลมอักเสบ เป็นต้น

    ในการวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ แพทย์มักพิจารณาได้จากอาการที่แสดงและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ในรายที่สงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดร้ายแรง ไข้หวัดนก หรือสงสัยว่ามีการระบาด แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด (อาจพบเม็ดเลือดขาวต่ำ), การทดสอบทางน้ำเหลือง (Serologic tests) เพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (การทดสอบน้ำเหลืองมีอยู่หลายวิธี เช่น Hemagglutination inhibition assay (HI), Complement fixation test (CFT), Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA), Fluorescent antibody test (FA), Neutralizing antibodies (NAb) เป็นต้น), การตรวจหาเชื้อไวรัสจากจมูกและคอหอย (การตรวจหาเชื้อไวรัสมีอยู่หลายวิธี เช่น การแยกเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง (Cell culture), Polymerase chain reaction (PCR) เป็นต้น) ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนในการรักษาและป้องกันที่จำเพาะต่อชนิดของเชื้อก่อโรค

    อาการไข้สูงและปวดเมื่อย โดยไม่มีอาการอื่น ๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ ในระยะแรกเริ่มก็ได้ เช่น ไทฟอยด์ สครับไทฟัส ไข้เลือดออก หัด มาลาเรีย โรคฉี่หนู ตับอักเสบจากไวรัส เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่น ๆ ปรากฏให้เห็นก็จะให้การรักษาไปตามโรคที่สงสัย แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีไข้นานเกิน 7 วัน มักจะไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ แต่อาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ เช่น ไทฟอยด์ สครับไทฟัส มาลาเรีย วัณโรคปอด เป็นต้น เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน

    โรคไข้หวัดใหญ่ต่างจากโรคไข้หวัดยังไง ?

    • ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ เป็นคนละโรคกันและเกิดจากการติดเชื้อไวรัสคนละชนิด แต่มีวิธีติดต่อ อาการแสดง และแนวทางในการดูแลรักษาคล้าย ๆ กัน
    • อาการของโรคไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงมากกว่า และมีอาการรุนแรงในทันที แต่อาการของไข้หวัดจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
    • บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ่มักมีไข้สูงและปวดเมื่อยมาก
    • โรคไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง (โดยเฉพาะปอดอักเสบ)
    • ไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสตั้งแต่แรก
    • โรคไข้หวัดใหญ่มีวัคซีนป้องกัน (มักฉีดป้องกันในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง) แต่ไข้หวัดจะไม่มีวัคซีนป้องกัน

    วิธีรักษาโรคไข้หวัดใหญ่

    • ให้การดูแลปฏิบัติตัวและรักษาไปตามอาการเช่นเดียวกับไข้หวัด คือ
      1. เมื่อมีไข้ควรหยุดเรียนหรือหยุดงาน ควรแยกตัวและสิ่งของเครื่องใช้จากผู้อื่น และไม่นอนปะปนหรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น
      2. นอนพักผ่อนให้มาก ๆ ห้ามตรากตรำทำงานหนัก และยังไม่ควรออกกำลังกายในระหว่างนี้
      3. ห้ามอาบน้ำเย็น
      4. ดื่มน้ำสะอาด น้ำเกลือแร่ น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและการขาดเกลือแร่ (เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม)
      5. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวเมื่อมีไข้สูง ถ้าหากไข้ยังไม่ลดลง ให้รับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อลดไข้แก้ปวด ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรย์ซินโดรมได้
      6. ถ้ามีอาการไอให้จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว หรือให้รับประทานยาแก้ไอ สำหรับผู้ที่เจ็บคอ ให้กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น (น้ำ 1 แก้วผสมกับเกลือ 1 ช้อน)
      7. แพทย์จะให้น้ำเกลือสำหรับผู้ป่วยที่ดื่มน้ำไม่พอ ให้ยาลดน้ำมูกหากมีน้ำมูก
      8. ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
      9. รับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น และพยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน
      10. เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเสมอ
      11. ใช้ทิชชูในการสั่งน้ำมูกหรือเช็ดปาก ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า หลังจากใช้เสร็จให้ทิ้งทิชชูให้ถูกสุขอนามัย
      12. เวลาเข้าไปในที่ที่มีคนอยู่กันมาก ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง
      13. งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
      14. พยายามรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง ช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดการแพร่เชื้อ
      15. ถ้าไข้ลดลงแล้วควรอาบน้ำอุ่นอีก 3-5 วัน
      16. ผู้ป่วยบางรายหลังจากหายตัวร้อนแล้ว อาจมีอาการไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อยเป็นสีขาว อยู่เรื่อย ๆ ซึ่งอาจนานถึง 7-8 สัปดาห์ เนื่องจากเยื่อบุทางเดินหายใจถูกทำลายชั่วคราว จึงทำให้ไวต่อสิ่งระคายเคือง เช่น ฝุ่น ควัน ได้ง่าย หากมีอาการดังกล่าวแนะนำว่าให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ แล้วอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงไปได้เอง
      17. สำหรับยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไซนัสอักเสบ มีน้ำมูกหรือเสมหะสีเหลืองหรือเขียว หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น โดยยาปฏิชีวนะที่มีให้เลือกใช้ เช่น เพนิซิลลินวี (Penicillin V), อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin), โคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin) หรือ ร็อกซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)
      18. ควรรีบไปพบแพทย์เมื่อมีไข้สูงเกิน 39-40 องศาเซลเซียส และไข้ไม่ลดลงหลังจากรับประทานยาลดไข้ภายใน 3 วัน (ภายใน 1-2 วัน สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง), ไอมาก มีเสมหะ เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว (แสดงว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน), มีผื่นขึ้น, รับประทานอาหารได้น้อยหรือดื่มน้ำได้น้อย, อาการไม่ดีขึ้นหลังไข้ลงหรือหลังไข้ลงกลับมามีไข้อีก, อาการต่าง ๆ เลวลง, เป็นโรคหืด (เพราะโรคหืดมักกำเริบและควบคุมเองไม่ได้) หรือเมื่อมีความกังวลในอาการ
      19. ควรไปพบแพทย์เป็นการฉุกเฉิน เมื่อมีอาการหอบเหนื่อยร่วมกับไอมาก อาจร่วมกับนอนราบไม่ได้ (เป็นอาการแทรกซ้อนจากปอดอักเสบ) หรือมีอาการเจ็บหน้าอกมากร่วมกับหายใจขัด เหนื่อย (เป็นอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) หรือมีอาการชัก ซึม สับสน แขนขาอ่อนแรง อาจร่วมกับปวดศีรษะรุนแรง และคอแข็ง (เป็นอาการแทรกซ้อนจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบ)
    • ผู้ป่วยที่มีไข้เกิน 7 วัน หรือมีอาการหอบเหนื่อย หรือสงสัยว่าเป็นปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ซึ่งแพทย์อาจต้องตรวจเอกซเรย์ ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ เป็นต้น ถ้าพบว่าเป็นปอดอักเสบ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะไปตามชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ
    • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรือพบโรคนี้ในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ คนอ้วน ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ) แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสตั้งแต่เริ่มมีอาการ (การให้ยาภายใน 2 วันหลังเกิดอาการจะลดระยะเวลาเป็นโรคได้) เช่น อะแมนทาดีน (Amantadine), ไรแมนทาดีน (Rimantadine) หรือไรบาไวริน (Ribavirin) สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดิม โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) หรือซานามิเวียร์ (Zanamivir) สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
    • ถ้าสงสัยว่าเป็นไข้หวัดนก เช่น มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายในช่วง 7 วันที่ผ่านมา หรืออยู่พื้นที่ที่มีการระบาดของไข้หวัดนกภายใน 14 วัน ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
    • ในรายที่สงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดร้ายแรง ไข้หวัดนก หรือสงสัยว่ามีการระบาด แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนในการรักษาและป้องกันที่จำเพาะต่อชนิดของเชื้อก่อโรค

    การรักษาไข้หวัดใหญ่

    บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรง ส่วนมากการให้การดูแลรักษาไปตามอาการ ผู้ป่วยจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาการไข้และอาการต่าง ๆ จะดีขึ้นภายใน 5-7 วัน (ไข้มักจะหายได้เองภายใน 3-5 วัน หรือไม่เกิน 7 วัน) ข้อสำคัญคือผู้ป่วยต้องนอนพักและดื่มน้ำให้มาก ๆ และห้ามอาบน้ำเย็น ถ้าไข้ลดลงแล้วก็ควรอาบน้ำอุ่นอีก 3-5 วัน และแม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาลงแล้วก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการไอและอ่อนเพลียต่อเนื่องไปได้อีกประมาณ 1-4 สัปดาห์

    วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

    1. ในช่วงที่มีการระบาดของโรค หรือมีคนใกล้ชิด เช่น คนในบ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงานป่วยเป็นโรคนี้ ควรปฏิบัติดังนี้
      • อย่าเข้าใกล้หรือนอนรวมกับผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ควรสวมหน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง
      • หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่บ่อย ๆ ล้างมือทุกครั้งก่อนการรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ
      • หลีกเลี่ยงการสัมผัสมือกับผู้ป่วย และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หนังสือ โทรศัพท์ ของเล่น เครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ
      • ในช่วงที่มีการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ที่มีผู้คนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง งานมหรสพ รวมถึงการใช้โทรศัพท์สาธารณะหรือลูกบิดประตู เป็นต้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือด้วยน้ำกับสบู่หรือชโลมมือด้วยแอลกอฮอล์เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจติดมาจากการสัมผัสถูกเสมหะของผู้ป่วย และอย่าใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะไชจมูกหากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
      • ผู้ป่วยควรแยกตัวออกห่างจากผู้อื่น อย่านอนปะปนหรือคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น เวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าปิดปากและจมูกเสมอ เวลาเข้าไปในที่ที่มีคนอยู่กันมาก ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยด้วยทุกครั้ง
    2. เมื่อเข้าสู่ช่วงที่มีการระบาดของโรค ควรเตรียมความพร้อมสำหรับรับมือการระบาดแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดลดไข้ (พาราเซตามอล) ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก หรือยาที่ต้องใช้เป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลในช่วงที่มีการระบาด รวมไปถึงกระดาษชำระ สบู่ ปรอทวัดไข้ หน้ากากอนามัย อาหารสำหรับยามจำเป็นเช่น น้ำซุปต่าง ๆ ก็ควรตระเตรียมไว้ด้วย
      • ไม่แนะนำให้ใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาหลายชนิด หากมีไข้ก็ให้ใช้ยาลดไข้ มีน้ำมูกก็ให้ใช้ยาลดน้ำมูก ไม่แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่เกิดจากเชื้อไวรัส เพราะจะทำให้โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมีโอกาสดื้อยามากขึ้น
    3. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine) ที่มีใช้อยู่ในอดีตสามารถใช้ป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (H1N1 สายพันธุ์เก่า และ H3N2) และชนิดบีได้ แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ขึ้นใช้แล้ว โดยมักใช้ฉีดในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อเหล่านี้ โดยทั่วไปแล้วถ้าไม่มีการระบาดโรค แพทย์จะไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่ประชาชนทั่วไป ยกเว้นในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงดังที่กล่าวมาแล้ว, ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี), ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปีที่ต้องกินยาแอสไพรินเป็นประจำ, สตรีตั้งครรภ์ที่คาดว่าอายุครรภ์ย่างเข้าไตรมาสที่ 2 ขึ้นไปในช่วงที่มีการระบาดของโรค, ผู้ที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์, ผู้ที