[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ
บุคคลทั่วไป
Select Language
English
Arabic
Bulgarian
Chinese (Simplified)
Chinese (Traditional)
Croatian
Czech
Danish
Dutch
Finnish
French
German
Greek
Hindi
Italian
Japanese
Korean
Norwegian
Polish
Portuguese
Romanian
Russian
Spanish
Swedish
Catalan
Filipino
Hebrew
Indonesian
Latvian
Lithuanian
Serbian
Slovak
Slovenian
Ukrainian
Vietnamese
Albanian
Estonian
Galician
Hungarian
Maltese
Thai
Turkish
ค้นหา
เมนูหลัก
หน้าแรก
ฝ่ายวิชาการ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
หลักสูตรที่เปิดสอน
ทำเนียบบุคลากร
ประมวลภาพกิจกรรม
สมุดเยี่ยม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์
สาระความรู้
โครงการ/งาน
กระดานข่าว
ดาวน์โหลด
ผลงานทางวิชาการ
contact
blog
video
Administrator
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ]
|
[ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด
5
คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์
0
คน
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ
(ตัวแสดงอารมณ์)
poll
คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
แย่
แย่มาก
ดูผลการ vote
เว็บบอร์ด
>>
ห้องนั่งเล่น
>>
โรคซิฟิลิส syphilis
VIEW : 710
โดย
ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม
UID :
ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว
:
31
ตอบแล้ว
:
เพศ :
ระดับ : 4
Exp : 50%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP
:
171.96.190.
xxx
เมื่อ :
อาทิตย์ ที่ 29 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2560 เวลา 14:21:56
โรคซิฟิลิส
ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดผื่นหรือแผลตามผิวหนัง และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงขึ้นหากไม่รักษา
ซิฟิลิส
อาการของซิฟิลิส
โรคซิฟิลิสแบ่งอาการออกได้เป็น 3 ระยะ
ระยะที่ 1 (Early/Primary Syphilis) จะเกิดแผลขนาดเล็กบริเวณที่ได้รับเชื้อ ก้นขอบแผลมีลักษณะเรียบและแข็งที่เรียกว่า แผลริมแข็ง (Chancre) โดยเฉพาะตามอวัยวะเพศและริมฝีปากหลังการได้รับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ แต่ก็อาจพบอาการได้ในช่วง 10-90 วัน มักไม่มีอาการเจ็บปวดและจะค่อย ๆ หายไปได้เองภายใน 6 สัปดาห์แม้ไม่ได้รับการรักษา
ระยะที่ 2 (Secondary Stage) โรคจะเริ่มพัฒนาจากระยะแรกใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดผื่นที่มีลักษณะตุ่มนูนคล้ายหูดขึ้นตามบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า อวัยวะเพศ หรือส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ขาหนีบ ทวารหนัก ภายในช่องปาก แต่ไม่มีอาการคันตามผิวหนัง บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ มีปื้นแผ่นสีขาวในปาก เป็นไข้ ต่อมน้ำเหลืองบวม เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ผมร่วง หรืออาการอื่น ๆ แต่อาการเหล่านี้มักจะหายไปแม้ไม่ได้รับการรักษาเช่นกัน
ระยะสงบ หรือ Latent Syphilis เป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีอาการของโรคแสดงออกมาให้เห็น แต่ผู้ป่วยยังคงมีเชื้ออยู่ในร่างกายและตรวจเลือดพบได้ ระยะนี้สามารถเกิดได้นานเป็นปีก่อนจะพัฒนาไปยังระยะสุดท้าย
ระยะที่ 3 (Tertiary Syphilis) หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะทำให้โรคพัฒนามาจนถึงระยะสุดท้ายที่ก่อให้เกิดความผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ สมอง เส้นประสาท หรืออวัยวะหลายส่วนของร่างกายเมื่อเชื้อไปอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งจะนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น อัมพาต ตาบอด ภาวะสมองเสื่อม หูหนวก ไร้สมรรถภาพทางเพศ โรคหัวใจ เสียสติ และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
สาเหตุของซิฟิลิส
โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema Pallidum) จากการสัมผัสถูกเชื้อโดยตรงจากแผลของผู้ป่วย โดยเฉพาะในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่มักสุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อได้มากที่สุด จึงมักถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้การใช้เข็มฉีดยารวมกับผู้อื่น การรับเลือดจากผู้อื่น รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อสามารถส่งผ่านเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
ในช่วงระยะที่ 1-2 ของการติดเชื้อจะสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายมากที่สุด อย่างไรก็ตามการใช้สิ่งของร่วมกันในบางกรณีที่ไม่ได้สัมผัสกับเชื้อโดยตรงอาจไม่เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ เช่น การใช้ห้องน้ำ การสวมเสื้อผ้า หรือใช้ช้อนส้อมร่วมกัน รวมไปถึงระยะสงบของโรคที่มักไม่ค่อยมีอาการและไม่เกิดการติดต่อ
การวินิจฉัยซิฟิลิส
แพทย์จะสอบถามข้อมูลทั่วไป เช่น อาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วย พฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงการตรวจร่างกายในเบื้องต้น ซึ่งแพทย์หรือพยาบาลจะตรวจดูบริเวณอวัยวะเพศหรือส่วนอื่นของร่างกายว่าพบแผลหรือความผิดปกติใด ๆ ที่อาจเกิดจากโรคซิฟิลิส ก่อนจะสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่มักใช้ในการวินิจฉัย ได้แก่
การตรวจเลือด เป็นการตรวจหาเชื้อที่อยู่ในกระแสเลือดของผู้ป่วย โดยในบางรายที่ผลการตรวจออกมาว่ามีการติดเชื้อ อาจต้องมีการตรวจซ้ำอีกครั้งหลังจากการตรวจครั้งแรก เพื่อช่วยยืนยันการติดเชื้อที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสขึ้น
การเก็บตัวอย่างเชื้อไปตรวจ (Swab Test) ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลหรือผื่นตามร่างกาย แพทย์อาจมีการเก็บตัวอย่างเชื้อบนผิวหนังหรือน้ำเหลืองจากแผลไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ หาเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคซิฟิลิสหรือไม่
ทั้งนี้ การวินิจฉัยต้องดูระยะของโรคที่ผู้ป่วยเป็นร่วมด้วย เนื่องจากในบางระยะอาจไม่มีอาการของโรคแสดงออกมาให้เห็น แต่เมื่อโรคเข้าสู่ระยะสุดท้าย มักพบความผิดปกติของระบบร่างกายอื่น ๆ แพทย์จึงอาจมีการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการในบางรายตามระยะโรคที่ผู้ป่วยเป็น เช่น แพทย์อาจทำการเจาะน้ำไขสันหลัง (Spinal Tap/Lumbar Puncture) ในกรณีที่คนไข้มีอาการทางระบบประสาท แต่ไม่พบอาการอื่น ๆ ของโรค
การรักษาซิฟิลิส
โดยทั่วไปโรคซิฟิลิสสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) เป็นหลัก แม้ว่าอาการของโรคในระยะแรกมักเกิดขึ้นแล้วหายไป และอาการในระยะท้ายมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่เชื้อยังคงอยู่ในร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องก่อนโรคมีการพัฒนามากขึ้นจนรุนแรงต่อระบบอื่นในร่างกาย ในช่วงระหว่างการรักษา ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือกระตุ้นให้โรคเกิดการกำเริบมากขึ้นหากได้รับเชื้อจากผู้อื่นอีกครั้ง และแนะนำให้คู่นอนมาตรวจด้วยเช่นกัน
สำหรับประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยากลุ่มเพนิซิลลิน จี (Penicillin G) ที่แบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด เช่น ยาเบนซาธีน เพนิซิลลิน จี (Benzathine Penicillin G) ยาเอเควียส เพนิซิลลิน จี (Aqueous Penicillin G) ซึ่งแพทย์จะฉีดให้ผู้ป่วยโดยดูจากระยะเวลาในการป่วยว่าเป็นมานานเท่าใด
ผู้ป่วยระยะที่ 1-2 จะฉีดเบนซาธีน เพนิซิลลิน จี ขนาด 2.4 ล้านยูนิต เข้ากล้ามเนื้อให้ผู้ป่วย 1 ครั้ง
ผู้ป่วยระยะแฝงหรือระยะที่ 3 จะฉีดเบนซาธีน เพนิซิลลิน จี ขนาด 2.4 ล้านยูนิต เข้ากล้ามเนื้อให้ผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 สัปดาห์
หากโรคซิฟิลิสขึ้นไปที่สมอง (Neurosyphilis) แพทย์จะฉีดเบนซาธีน เพนิซิลลิน จี เข้ากล้ามเนื้อ 18-24 ล้านยูนิตต่อวัน โดยแบ่งการให้ยาเป็น 3-4 ล้านยูนิตทุก 4 ชั่วโมง ติดต่อกันนาน 10-14 วัน หรือฉีดโปรเคน เพนิซิลลิน (Procaine Penicillin) ขนาด 2.4 ล้านยูนิต เข้ากล้ามเนื้อให้ผู้ป่วยวันละ 1 ครั้ง ร่วมกับรับประทานยาโพรเบเนซิด (Probenecid) ขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลานาน 10-14 วัน
อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยยาอาจส่งผลข้างเคียงในผู้ป่วยบางราย เช่น ไข้ขึ้น เวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อหรือปวดตามข้อ แต่อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ ทุเลาลงในเวลาไม่นาน บางครั้งแพทย์อาจจ่ายยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ช่วยบรรเทาอาการ ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินและปรับตัวยาที่ใช้ในการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อต่อไป
โรคซิฟิลิส syphilis
สุขภาพ
[url]www.honestdocs.co/syphilis-warts[/url]
[url]http://www.honestdocs.co/sitemap[/url]
[
อ้างอิง
]
โดย
สมัครแทงบอล
UID :
ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว
:
1
ตอบแล้ว
:
1
ระดับ : 1
Exp : 100%
IP
:
124.120.25.
xxx
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 9 ก.ค. 2564 : 12:08
แทงบอล
[
อ้างอิง
]
1
Re หัวข้อ :
รูปประกอบ :
จำกัดขนาด 100 kB
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :
แผนกวิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
90 ถ.กสิกรรม ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
@2014-2015 under
GNU General Public License
Edit&Applied by
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
Power by :
FreeBSD.org