[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 5 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ฝากข้อความ
    ชื่อ :
    ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
    poll

       คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


    1. ดีมาก
    2. ดี
    3. ปานกลาง
    4. แย่
    5. แย่มาก




      

       เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
    สุนัขอาเจียน  VIEW : 468    
    โดย นพ.สุรศักดิ์

    UID : ไม่มีข้อมูล
    โพสแล้ว : 4
    ตอบแล้ว :
    เพศ :
    ระดับ : 1
    Exp : 80%
    เข้าระบบ :
    ออฟไลน์ :
    IP : 61.91.28.xxx

     
    เมื่อ : ศุกร์์ ที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 15:24:04    ปักหมุดและแบ่งปัน

    สุนัขอาเจียน
    สุขภาพสัตว์เลี้ยง


    เวลาที่สุนัขป่วย แน่นอนว่าน้องหมาไม่สามารถอธิบายอาการป่วยของตัวเองให้คุณหมอฟังได้ จึงเป็นหน้าที่เจ้าของที่จะต้องเป็นผู้เล่าอาการให้คุณหมอฟังแทน และบ่อยครั้งที่เจ้าของจะสับสนกับอาการบางอย่างที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น การสำรอก (ขย้อน) กับ การอาเจียน หรือการอาเจียน กับ การขากเสมหะ ส่งผลให้เจ้าของแจ้งอาการป่วยของน้องหมาผิด ทำให้คุณหมอต้องทำการซักประวัติอาการเพิ่มเติม และบางทีก็ต้องทำท่าทางสาธิตอาการให้เจ้าของดู เพื่อที่จะได้ทราบข้อมูลอาการป่วยแท้จริงของน้องหมา

     อาเจียน เป็นการขับเอาของที่อยู่ในทางเดินอาหารออกมาทางปาก (บางครั้งก็ทางจมูกด้วย) โดยมีการใช้กำลังของกล้ามเนื้อท้องและกระบังลมในการขับออกมา (active expulsion) เจ้าของจะสังเกตพบว่า น้องหมาจะมีอาการคลื่นไส้ ผะอืดผะอม หรือเลียปาก ก่อนที่จะเกิดการขยับของกล้ามเนื้อท้องและกระบังลมอย่างรุนแรงเป็นจังหวะ หลังจากนั้นจะมีการขับเอาของที่อยู่ในทางเดินอาหารออกมาทางปาก  ซึ่งอาจเป็นอาหารที่ยังไม่ย่อยหากเพิ่งกินเข้าไปไม่นาน แต่จะไม่เป็นรูปแท่งตรงทรงกระบอก หรืออาจเป็นแค่ของเหลว หรือเป็นอาหารเละ ๆ ที่ผ่านการย่อยแล้ว และมักพบน้ำย่อยหรือน้ำดีสีเขียว ๆ เหลือง ๆ ปะปนออกมาด้วย 

       การอาเจียนนั้น เกิดจากส่วน Vomit center ในสมองได้รับสัญญาณมากระตุ้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันของสมองและทางเดินอาหาร เช่น เกิดความผิดปกติในทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ ติดเชื้อ มีแผล เกิดการอุดตัน ไม่ทำงาน ถูกกดเบียด ฯลฯ หรือความผิดปกติในส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคทางเมตาบอลิก เบาหวาน โรคตับ โรคตับอ่อน โรคไต  ารเมารถ ฮีทสโตรก หรือการได้รับยาหรือสารเคมีบางอย่างไปกระตุ้น 
         ซึ่งนอกจากแยกการอาเจียนได้แล้ว สิ่งที่เจ้าของต้องสังเกตเพิ่มเติมก็คือ ลักษณะสิ่งที่อาเจียนออกมาเป็นอย่างไร มีอะไรปนออกมาบ้าง มีหนอนพยาธิ เลือด หรือหญ้าปนหรือไม่ หรือพบเพียงน้ำดีเขียว ๆ เหลือง ๆ เฉย ๆ ไม่มีอะไรปนออกมาเลย การอาเจียนนั้นเกิดหลังจากการกินนานแค่ไหน หรือสัมพันธ์กับอาหารที่กินเข้าไปหรือไม่ น้องหมากินอะไรเข้าไป การอาเจียนนั้นเป็นมานานแค่ไหนแล้ว อาเจียนวันละกี่รอบ (ถ้ามากกว่า 3 รอบต่อวัน ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที) การอาเจียนมีปริมาณมากน้อยแค่ไหน และมีอาการอื่นใดร่วมด้วยกับการอาเจียนหรือไม่ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก กินน้ำมาก ปัสสาวะมาก ปัสสาวะไม่ออก เดินเซ อ่อนแรง ฯลฯ เพื่อนำมาแจ้งกับคุณหมอ สำหรับใช้ในการวินิจฉัยโรคต่อไปครับ