[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by
MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ
บุคคลทั่วไป
Select Language
English
Arabic
Bulgarian
Chinese (Simplified)
Chinese (Traditional)
Croatian
Czech
Danish
Dutch
Finnish
French
German
Greek
Hindi
Italian
Japanese
Korean
Norwegian
Polish
Portuguese
Romanian
Russian
Spanish
Swedish
Catalan
Filipino
Hebrew
Indonesian
Latvian
Lithuanian
Serbian
Slovak
Slovenian
Ukrainian
Vietnamese
Albanian
Estonian
Galician
Hungarian
Maltese
Thai
Turkish
ค้นหา
เมนูหลัก
หน้าแรก
ฝ่ายวิชาการ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
หลักสูตรที่เปิดสอน
ทำเนียบบุคลากร
ประมวลภาพกิจกรรม
สมุดเยี่ยม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์
สาระความรู้
โครงการ/งาน
กระดานข่าว
ดาวน์โหลด
ผลงานทางวิชาการ
contact
blog
video
Administrator
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ]
|
[ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด
5
คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์
0
คน
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ
(ตัวแสดงอารมณ์)
poll
คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
แย่
แย่มาก
ดูผลการ vote
เว็บบอร์ด
>>
ห้องนั่งเล่น
>>
CT Scan ซีทีสแกน
VIEW : 461
โดย
ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม
UID :
ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว
:
31
ตอบแล้ว
:
เพศ :
ระดับ : 4
Exp : 50%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP
:
171.96.191.
xxx
เมื่อ :
จันทร์ ที่ 14 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 01:18:03
CT Scan ซีทีสแกน
เอกซเรย์มีประโยชน์และโทษอย่างไร?
เอกซเรย์สามารถตรวจภาพของเนื้อเยื่อ/อวัยวะได้ทุกชนิด และในทุกเพศและทุกวัย ดัง นั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อแพทย์ในการช่วยวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น อันนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถให้รายละเอียดของภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีความหนามาก (เช่น ปอด ตับ) อวัยวะที่ห้อมล้อมด้วยกระดูก (เช่น สมอง) และอวัยวะที่อยู่ลึก (เช่น อวัยวะต่างๆในช่องท้อง เช่น มดลูก รังไข่ ตับอ่อน ไต และกระเพาะอาหาร) ได้ดีกว่าการเอกซเรย์ธรรมดามาก ดังนั้นเมื่อเป็นการวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีลักษณะดังกล่าวอย่างละเอียด แพทย์จึงมักจำเป็นต้องให้การตรวจวินิจฉัยภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะเหล่านั้นด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม เอกซเรย์ เป็นรังสีที่มีพลังงานได้หลายระดับ และก่อให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์ได้ทุกชนิด การบาดเจ็บจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณและระดับพลังงานของเอกซเรย์ที่เซลล์ได้รับ รวมทั้งอายุของเซลล์ด้วย โดยเซลล์ตัวอ่อน เช่น เซลล์ของทารกในครรภ์ (อาจส่งผลให้เกิดการแท้ง หรือ ความพิการของทารกได้) เมื่อได้รับเอกซเรย์จะมีโอกาสเกิดการบาด เจ็บได้สูงกว่าเซลล์ของผู้ใหญ่ (รังสีจากการตรวจโรค) ดังนั้นนอกจากประโยชน์ที่ได้รับ ถ้าใช้เอกซเรย์พร่ำเพรื่อ อาจทำให้เซลล์ร่างกายได้รับปริมาณรังสีสูงจนอาจก่อการบาดเจ็บต่อเซลล์ได้โดยเฉพาะในระยะยาวเมื่อหลายๆปีผ่านไป ซึ่งอันตรายที่สำคัญ คือ การบาดเจ็บของเซลล์ (จากรังสี) อาจส่งผลให้เซลล์ที่ได้รับรังสีเกิดการเปลี่ยนแปลง (Mutation) จนกลายเป็นเซลล์ มะเร็ง/โรคมะเร็งได้ การแพทย์จึงจัด เอกซเรย์เป็นรังสีที่สามารถก่อมะเร็งได้ (Carcinogen)
จากผลกระทบของเอกซเรย์ดังกล่าวแล้ว แพทย์จึงจะให้การตรวจด้วยเอกซเรย์เฉพาะต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น โดยเฉพาะในการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจในแต่ละครั้งมากกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดา
***** โอกาสเกิดโรคมะเร็งจากการตรวจโรคด้วยเอกซเรย์โดยแพทย์แนะนำ พบได้น้อยมากๆจนไม่จำเป็นต้องกังวล และเป็นที่ยอมรับของทางการแพทย์ทั่วโลกว่า การเอกซเรย์ทั้งเอกซเรย์ธรรมดาและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และตามดุลพินิจของแพทย์ ก่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมากมาย มากกว่าการเกิดโทษ
เอกซเรย์ธรรมดาต่างจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างไร?
ความแตกต่างระหว่างการเอกซเรย์ธรรมดากับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือเอกซเรย์ธรรมดา จะให้ภาพการตรวจเป็นภาพ 2 มิติ คือกว้าง และยาว ไม่สามารถบอกความลึกได้ และจะให้ภาพเป็นภาพรวมของทั้งอวัยวะ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดของเอกซเรย์ธรรมดา เมื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการตรวจที่ซับซ้อนกว่าเอกซเรย์ธรรมดามาก ซึ่งจะให้ภาพเป็น 3 มิติ และยังซอยภาพอวัยวะออกเป็นแผ่นบางๆในภาพตัดขวางได้หลายสิบแผ่น จึงช่วยให้แพทย์อ่านความผิดปกติของอวัยวะนั้นๆได้ละเอียดและแม่นยำกว่า
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสูงกว่าการเอกซเรย์ธรรมดาเป็นสิบ หรือหลายสิบเท่า และในการตรวจแต่ละครั้งผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีสูงกว่าจากการตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดา
ดังนั้นโดยทั่วไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย แพทย์จึงมักตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดาก่อน ต่อเมื่อเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ แพทย์จึงจะพิจารณาเลือกใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
เมื่อไหร่จึงควรตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์? ตรวจส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง?
แพทย์จะเลือกการตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เมื่อเนื้อเยื่อ/อวัยวะ (เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ) ที่ต้องการวินิจฉัยให้การตรวจด้วยการเอกซเรย์ธรรมดาไม่ชัดเจน ซึ่งได้แก่
เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่จะตรวจ มีความหนามาก การถ่ายภาพได้เป็นแผ่นบางๆจึงช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆได้ชัดเจนกว่า เช่น ตับ และปอด เป็นต้น
เนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆอยู่ลึก การถ่ายภาพเป็น 3 มิติ ที่สามารถตรวจภาพด้านความลึกได้ จึงช่วยให้เห็นภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆได้ชัดเจนขึ้น เช่น ตับอ่อน และไต
ต้องการตรวจให้พบพยาธิสภาพที่มีขนาดเล็กๆ เป็น มิลลิเมตร หรือไม่เกิน 1 เซนติเมตรเพื่อสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็นโรค เช่น ในการตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของโรค มะเร็งสู่ปอด เป็นต้น
ตรวจอวัยวะที่ล้อมรอบด้วยกระดูก ซึ่งจะตรวจพยาธิสภาพไม่พบจากเอกซเรย์ธรรมดา เช่น ภาพสมอง
ตรวจครั้งเดียววินิจฉัยโรคได้หลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ ซึ่งไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีการอื่นๆรวมทั้งจากเอกซเรย์ธรรมดา เช่น การตรวจเนื้อเยื่อ/อวัยวะในช่องท้องทั้งหมดในการตรวจเพียงครั้งเดียว ที่เรียกว่า Whole abdomen CT scan
ทั้งนี้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถตรวจเนื้อเยื่อ/อวัยวะได้เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด ตับ อวัยวะต่างๆในสมอง กล้ามเนื้อ ดวงตา หู ลำคอ แต่ทั้งนี้ไม่สามารถตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือด และเส้นประสาทได้ชัดเจน
CT Scan ซีทีสแกน
HonestDocs
[url]https://www.honestdocs.co/ct-scan[/url]
[url]https://www.honestdocs.co[/url]
[
อ้างอิง
]
Re หัวข้อ :
รูปประกอบ :
จำกัดขนาด 100 kB
รายละเอียด :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ชื่อของท่าน :
แผนกวิชาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
90 ถ.กสิกรรม ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
@2014-2015 under
GNU General Public License
Edit&Applied by
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
Power by :
FreeBSD.org