[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 5 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ฝากข้อความ
    ชื่อ :
    ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
    poll

       คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


    1. ดีมาก
    2. ดี
    3. ปานกลาง
    4. แย่
    5. แย่มาก




      

       เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
    ต้อหิน  VIEW : 522    
    โดย K.Sirintorn

    UID : ไม่มีข้อมูล
    โพสแล้ว : 4
    ตอบแล้ว :
    เพศ :
    ระดับ : 1
    Exp : 80%
    เข้าระบบ :
    ออฟไลน์ :
    IP : 61.91.28.xxx

     
    เมื่อ : อังคาร ที่ 20 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 เวลา 16:32:44    ปักหมุดและแบ่งปัน


    ต้อหิน (Glaucoma)



    สุขภาพ





                  ต้อหินเป็นโรคของขั้วประสาทตาผิดปกติ ทำให้สูญเสียการมองเห็น โดยมีภาวะความดันลูกตาสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ  ความดันลูกตา เกิดจากภายในลูกตาของเราจะมีการสร้างของเหลวใสขึ้นมาในช่องด้านหน้าของลูกตา และระบายออกทางมุมตา เรียกว่า น้ำเลี้ยงตา  ทำหน้าที่ปรับความดันภายในลูกตาให้สมดุล ไม่ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำเลี้ยงภายในลูกตา และคงรูปร่างของดวงตาไว้  ความดันลูกตาปกติ จะมีค่าน้อยกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท




    ชนิดของต้อหิน



    1. ต้อหิน มุมปิด

    ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน จะทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง ตามัว เมื่อมองไปที่ดวงไฟจะเห็นเป็นวงกลมจ้ารอบดวงไฟ อาการอาจรุนแรงมากจนเกิดคลื่นไส้อาเจียน และมักไม่หายด้วยการรับประทานยาแก้ปวด ถ้าไม่รักษา ตาจะบอดอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเป็นชนิดมุมปิดเรื้อรังผู้ป่วยมักไม่ทราบ และไม่มีอาการ บางคนอาจมีอาการปวดเล็กน้อยเป็นครั้งคราว เป็น ๆ หาย ๆ  อยู่หลายปี และได้รับการรักษาแบบโรคปวดศีรษะโดยไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน



    2. ต้อหินมุมเปิด 

                   เป็นชนิดที่พบบ่อย มักจะไม่มีอาการปวดตาหรือตาแดง แต่สายตาจะค่อย ๆ มัวลงอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงในระยะเป็นเดือน  หรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันท่วงทีก็จะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามหากได้รับการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องรวดเร็วก็มักจะรักษาสายตาไว้ได้



    3. ต้อหินแทรกซ้อน 

                   ต้อหินชนิดนี้เกิดเนื่องจากมีความผิดปกติอย่างอื่นของดวงตา เช่นการอักเสบ ต้อกระจกที่สุกมาก อุบัติเหตุต่อดวงตา เนื้องอก การใช้ยาหยอดตาบางชนิด และภายหลังการผ่าตัดตา เช่นเปลี่ยนกระจกตาหรือการผ่าตัดต้อกระจก



    4. ต้อหินในเด็กเล็กและทารก 

                   ต้อหินในเด็กเล็กเกิดร่วมกับความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอดของดวงตา อาจมีความผิดปกติทางร่างกายร่วมด้วย ต้อหินในเด็กทารกมักพบตั้งแต่แรกเกิด แม่อาจสังเกตว่าลูกน้อยของตนมีขนาดลูกตาใหญ่กว่าเด็กปกติ กลัวแสง กระจกตาหรือส่วนตาดำจะไม่ใสจนถึงขุ่นขาว และมีน้ำตาไหลมาก หากพบต้องรีบเข้ารับการรักษา



    ปัจจัยเสี่ยง



    1. มีประวัติบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะพ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคนี้



    2. อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป



    3. มีโรคที่มีผลต่อระบบหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคที่ทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ อักเสบเรื้อรัง



    4. เป็นโรคปวดหัวไมเกรน หรือมีภาวะปวดปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า อย่างรุนแรงเวลาโดยความเย็นเนื่องจากเส้นเลือดหดตัวไวต่อภาวะอุณหภูมิต่ำ



    5. สูบบุหรี่เป็นประจำ



    6. สายตาผิดปกติมาก ๆ เช่น สั้นมาก ๆ หรือยาวมาก ๆ (แต่ไม่ใช่ภาวะสายตายาวในผู้สูงอายุ)



    7. เคยได้รับอุบัติเหตุอย่างแรงที่กระทบต่อลูกตาโดยตรง



    8. เคยมีประวัติเสียเลือดอย่างมากจนช็อค



    การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน



                   จักษุแพทย์จะทำการตรวจเช็คตาโดยละเอียด รวมทั้งการซักประวัติทางร่างกาย ประวัติครอบครัว วัดสายตา ความดันภายในลูกตาและการตรวจดูขั้วประสาท และจอตา การตรวจพิเศษโดยเฉพาะสำหรับโรคต้อหิน คือการตรวจดูมุมตาด้วยเลนส์สัมผัสพิเศษ (GONIOSCOPY) การตรวจวัดลานสายตา (VISUAL FIELD) ซึ่งนิยมวัดด้วยเครื่องตรวจลานสายตาอัตโนมัติ เพราะให้ข้อมูลละเอียดกว่าและการตรวจดูการกระจายของเส้นใยประสาท



    การรักษาโรคต้อหิน มีด้วยกันหลายวิธี คือ



    1. รักษาด้วยยา  ส่วนใหญ่เป็นยาหยอด จักษุแพทย์จะพิจารณาใช้ยาโดยค่อย ๆ เริ่มที่ละขั้นดูการตอบสนองต่อการรักษา บางครั้งอาจจำเป็นให้ยารับประทานด้วย  ยารักษาต้อหินที่มีอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด การออกฤทธิ์ที่สำคัญคือการลดความดันลูกตา



    2. รักษาด้วยแสงเลเซอร์  วิธีและชนิดของเลเซอร์ที่ใช้รักษาขึ้นกับชนิดของต้อหินที่เป็น เลเซอร์เป็นวิธีที่ง่ายใช้เวลาไม่นานสามารถให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้แต่ผลการรักษาอาจไม่แน่นอนขึ้นกับชนิดของต้อหิน มักจะต้องใช้การรักษาด้วยยาควบคู่กันไปด้วย



    3. รักษาด้วยการผ่าตัด มักจะทำก็ต่อเมื่อรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผลแล้ว ข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดขึ้นกับชนิดของต้อหินและความรุนแรงของโรครวมทั้งภาวะทางตาอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ต้อกระจก



    จุดประสงค์ของการรักษาโรคต้อหิน



                   เพื่อหยุดยั้งการดำเนินโรค ป้องกันการสูญเสียสายตาและการมองเห็นอันเนื่องจากโรค กลไกหลักคือการลดความดันตาลงมาให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ไม่ทำลายขั้วประสาทตาและลานสายตาของผู้ป่วยแต่ละคน แต่ในบางครั้งโรคอาจจะเป็นมากหรือมีภาวะที่มีผลกระทบต่อประสาทตาอย่างอื่นที่ทำให้การสูญเสียสายตายังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าจะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่แล้ว  โรคต้อหินเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อได้รับการตรวจพบว่า เป็นมักจะต้องมีการสูญเสียเซลล์ประสาทตาในระดับหนึ่ง โดยทั่วไปเซลล์ประสาทเมื่อตายแล้วจะไม่ฟื้นตัวเองกลับมาการรักษาโรคต้อหินจึงเป็นการพยายามที่จะยังคงสภาพเซลล์ประสาที่ดีส่วนที่เหลือให้คงอยู่ต่อไปให้มากและนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงต้องมาพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามการรักษา และประเมินสภาวะของโรคบ่อยบ้าง ห่างบ้าง ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิตเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าบางคราวผู้ป่วยอาจจะไม่ต้องใช้ยาแล้ว



    7



    รูปแสดงขั้วประสาทตาของผู้ป่วยต้อหินที่เป็นมาก



    คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคต้อหิน



    1. ใช้ยาหยอด ยารับประทาน ตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่หยุดยาหยอดเอง



    2. ไม่ควรรอจนยาหมด ควรให้มียาเผื่อไว้เสมอ หากต้องเดินทางไกลและพึงเข้าใจว่า ยาหยอดเหล่านี้ช่วยรักษาสายตาไว้



    3. ควรไปตามที่แพทย์นัด เพราะการตรวจเป็นระยะ ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็น และอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนยา หรือต้องทำการทดสอบ หรือการตรวจอย่างอื่น ๆ เช่น  ลานสายตาอัตโนมัติซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวโรค



    4. ควรแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัวอื่น ๆ ของท่าน และควรมีชื่อยาที่ท่านรับประทานอยู่ เพื่อรักษาโรคหัวใจ หรือความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่น ๆ ในขณะเดียวกันควรแจ้งให้อายุรแพทย์ประจำตัวทราบด้วยว่ากำลังรักษาโรคต้อหินอยู่



    5. กรุณาอย่าซื้อยาหยอดที่ไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากจักษุแพทย์มาหยอดเอง



    6. ยาหยอดบางชนิดทำให้เป็นโรคต้อหิน เช่น สเตียรอยด์



    7. เนื่องจากโรคต้อหินมีส่วนเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมอยู่บ้าง ควรแนะนำให้สมาชิกในครอบครัวของท่านรวมทั้งญาติพี่น้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปี รับการตรวจจากจักษุแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก