[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by MAXSITE 2.5.3
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 5 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ฝากข้อความ
    ชื่อ :
    ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
    poll

       คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


    1. ดีมาก
    2. ดี
    3. ปานกลาง
    4. แย่
    5. แย่มาก




      

       เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
    ทอนซิลอักเสบ  VIEW : 441    
    โดย ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม

    UID : ไม่มีข้อมูล
    โพสแล้ว : 31
    ตอบแล้ว :
    เพศ :
    ระดับ : 4
    Exp : 50%
    เข้าระบบ :
    ออฟไลน์ :
    IP : 171.96.191.xxx

     
    เมื่อ : จันทร์ ที่ 14 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 00:59:39    ปักหมุดและแบ่งปัน

    ทอนซิลอักเสบ
     ทอนซิลอักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อของทอนซิลซึ่งเป็นต่อมคู่ข้างซ้ายและขวา (เป็นต่อมน้ำเหลืองในลำคอที่อยู่ด้านข้างใกล้กับโคนลิ้น มีหน้าที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ลำคอ เช่น จากอาหาร น้ำดื่ม และการหายใจ จัดเป็นเนื้อเยื่อที่ไม่สำคัญ สามารถตัดออกได้เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะยังมีต่อมน้ำเหลืองในช่องคออีกมากที่ทำหน้าที่นี้แทนได้) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอเป็นสำคัญ ส่วน “คออักเสบ” (Pharyngitis) นั้น มักใช้เรียกภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป ซึ่งบางครั้งภาวะทั้งสองนี้อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้
     
    โรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีทั้งกลุ่มโรคติดเชื้อและกลุ่มโรคไม่ติดเชื้อ ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงการอักเสบจากโรคติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “เบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ” (Group A beta-hemolytic streptococcus) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีเนส” (Streptococcus pyogenes) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้
     
    เบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ
    IMAGE SOURCE : emedicine.medscape.com
    การอักเสบของทอนซิล สามารถพบได้ทั้งการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน ซึ่งมักมีอาการรุนแรงกว่า แต่รักษาให้หายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ และการอักเสบเรื้อรังที่เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งจะมีอาการแต่ละครั้งน้อยกว่าชนิดเฉียบพลัน ซึ่งนิยามของทอนซิลอักเสบเรื้อรัง คือ ทอนซิลอักเสบเกิดขึ้นอย่างน้อย 7 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา หรืออย่างน้อย 5 ครั้งทุกปีติดต่อกันใน 2 ปีที่ผ่านมา หรืออย่างน้อย 3 ครั้งทุกปีติดต่อกันใน 3 ปีที่ผ่านมา (ทอนซิลอักเสบเฉียบพลันหากเป็นบ่อย ๆ ทอนซิลจะโตขึ้น แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นแบบเรื้อรัง และอาจมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันแบบเป็น ๆ หาย ๆ ได้ ซึ่งการที่ทอนซิลโตขึ้นนี้จะทำให้เกิดร่องหรือซอก ซึ่งจะทำให้มีเศษอาหารเข้าไปตกค้างได้ง่าย และอาจทำให้เกิดการอักเสบยืดเยื้อออกไป)
     
    ทอนซิลอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยโรคหนึ่ง สามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้บ่อยในเด็กอายุก่อน 10 ปี (เพราะหลังจาก 10 ปีไปแล้ว ต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย) และในผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปีก็ยังอาจเป็นโรคนี้กันได้อยู่ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยพบในผู้ใหญ่วัยกลางคนไปแล้ว ส่วนโอกาสในการเกิดทั้งในเพศชายและเพศหญิงมีเท่ากัน (ในเด็กก่อนวัยเรียนมักเกิดจากเชื้อไวรัส และติดต่อกันได้ง่าย เพราะไม่รู้จักป้องกัน ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย)
     
    สาเหตุทอนซิลอักเสบ
    ส่วนใหญ่ประมาณ 70-80% เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งเชื้อไวรัสอื่น ๆ อีกหลายชนิด มีบางส่วนประมาณ 15-20% เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด และอีกประมาณ 5% เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งมักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
     
    เชื้อจะมีอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย สามารถติดต่อกันได้โดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือติดต่อโดยการสัมผัสมือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ (เช่น แก้วน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดหน้า) หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับในโรคไข้หวัดทั่วไปและในโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อนิ้วมือที่แปดเปื้อนเชื้อสัมผัสกับปากหรือจมูก เชื้อก็จะเข้าไปในคอหอยและทอนซิล
     
    สำหรับเชื้อแบคทีเรียที่สำคัญ คือ เบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic streptococcus – GABHS) ที่ก่อให้เกิดทอนซิลอักเสบชนิดเป็นหนอง (Exudative tonsillitis) ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กอายุ 5-15 ปี และอาจพบได้บ้างประปรายเป็นครั้งคราวในผู้ใหญ่ แต่จะพบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โรคนี้อาจติดต่อในกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน เช่น ในบ้าน ที่ทำงาน หอพัก โรงเรียน เป็นต้น
     
    ระยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ) คือ ประมาณ 2-7 วัน แต่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดดังกล่าวอาจสั้นเพียง 12 ชั่วโมง
     
    ต่อมทอนซิลอักเสบ
    IMAGE SOURCE : fortworthent.net (รูปซ้ายคือทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนรูปขวาคือทอนซิลอักเสบจากเชื้อไวรัส)
    อาการทอนซิลอักเสบ
    ทอนซิลอักเสบจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่จะไม่เจ็บมากขึ้นตอนกลืน อาจมีอาการหวัด ไอ คัดจมูก มีน้ำมูกใสแต่ไม่มาก เสียงแหบ มีไข้ไม่สูงมาก ปวดศีรษะเล็กน้อย ตาแดง (เยื่อตาขาวอักเสบ) และบางรายอาจมีอาการท้องเดินหรือถ่ายเหลวร่วมด้วย
    ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีไข้หรือไม่ก็ได้ ทอนซิลทั้งสองข้างอาจโตเล็กน้อย ซึ่งมักจะมีลักษณะแดงเพียงเล็กน้อยหรือไม่ชัดเจน
    ทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอมากจนกลืนน้ำและอาหารได้ลำบาก ร่วมกับมีอาการไข้สูงมากกว่า 38.3 องศาเซลเซียสเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีกลิ่นปาก และอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หู (เพราะการอักเสบของคอมักส่งผลถึงการอักเสบของหู เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ติดต่อถึงกันได้จากหูชั้นกลางซึ่งมีท่อเช่ือมต่อกับลำคอ) บางรายอาจมีอาการปวดท้องหรืออาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่มีอาการน้ำมูกไหล ไอ หรือตาแดงแบบการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส
    ทอนซิลทั้งสองข้างมีลักษณะบวมโต สีแดงจัด และมักมีแผ่นหรือจุดหนองขาว ๆ เหลือง ๆ ติดอยู่บนทอนซิล ซึ่งเขี่ยออกง่าย นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้าหรือใต้ขากรรไกรบวมโตและเจ็บ
    ภาวะแทรกซ้อนของทอนซิลอักเสบ
    ทอนซิลอักเสบจากเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา (ซึ่งมักไม่ร้ายแรง) ส่วนผู้ที่เป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
    ทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียเบต้า-ฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัสกลุ่มเอ โดยทั่วไปถ้าผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะที่ถูกกับโรค อาการมักจะทุเลาลงหลังกินไปได้ประมาณ 48-72 ชั่วโมง แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือรับประทานยาไม่ครบก็อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนี้
    เชื้ออาจลุกลามเข้าไปยังบริเวณใกล้เคียงทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ ฝีที่ทอนซิล (Peritonsillar abscess) ซึ่งอาจโตจนทำให้ผู้ป่วยกลืนลำบากหรือหายใจลำบาก
    เชื้ออาจเข้าสู่กระแสเลือดแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบชนิดติดเชื้อเฉียบพลัน กระดูกอักเสบเป็นหนอง (Osteimyelitis)
    ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิต้านตนเอง (Autoimmune reaction) กล่าวคือ ภายหลังจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดดังกล่าว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อขึ้นมา แล้วไปก่อปฏิกิริยาต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง ส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง คือ ไข้รูมาติก (มีการอักเสบของข้อและหัวใจ หากปล่อยให้เป็นเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจพิการและหัวใจวายได้) และหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (มีไข้ บวม ปัสสาวะมีสีแดง และอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้) ซึ่งโรคแทรกซ้อนเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังทอนซิลอักเสบได้ประมาณ 1-4 สัปดาห์ สำหรับไข้รูมาติกจะมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 0.3-3% ของผู้ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง
    ทอนซิลอักเสบ
    HonestDocs
     [url]https://www.honestdocs.co/tonsillitis-causes-symptoms-and-treatments[/url]
     
     [url]www.honestdocs.co[/url]