โครงการความร่วมมือจัดการเรียน การสอน
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาพืชศาสตร์
ระหว่าง
สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กับ
ARAVA INTERNATIONAL CENTER FORAGRICULTURE TRAINING ( AICAT)
ประเทศอิสราเอล
ความเป็นมาของโครงการ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 กรมอาชีวศึกษา (ขณะนั้น) ได้ส่งครู อาจารย์ และนักศึกษา เข้าร่วมกับสถาบันจุฬาภรณ์ เพื่อไปฝึกทักษะและประสบการณ์ด้านการเกษตร ในโครงการศึกษา และฝึกปฏิบัติงานเกษตรกรรมก้าวหน้า ที่ส่งนักศึกษาไปเพื่อฝึกปฏิบัติงานในฟาร์ม เป็นเวลา 11 เดือน ณ ประเทศอิสราเอลในปี พ.ศ. 2543 ได้มีการพัฒนาความร่วมมือจากโครงการฝึกปฏิบัติงานเกษตรกรรมก้าวหน้ามาเป็นโครงการความร่วมมือจัดการเรียนการสอน
ปวส.พืชศาสตร์ ทวิภาคีไทย- อิสราเอล โดยนายวีระศักดิ์ วงศ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะ อันประกอบด้วย ผู้อํานวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีต่าง ๆ คือ นายเกรียงศักดิ์ ศิลป์ประสิทธิ์ นายประยูร โพธิ์งามนายบุญช่วย ศรีเกษ นายทศพร ชัมภูทะ นายประกอบ รัตนพันธุ์ และผู้ประสานงานในขณะนั้นคือนางอรษา แกล้วเกษตรกรณ์ ได้เดินทางไปนิเทศการฝึกงานของนักศึกษา และหาแนวทางในการพัฒนาโครงการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ Arava International Center for Agriculture and Training (AICAT) ณเขต Arava ประเทศอิสราเอล
และได้เริ่มโครงการรุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2543 จํานวน 40 คน รุ่นที่ 2 ปี 2544 จํานวน 47 คน ดําเนินการโดยผู้อํานวยการ เกรียงศักดิ์ ศิลป์ประสิทธิ์ ณ ศูนย์เตรียมความพร้อมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด
ในปี 2545 จํานวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีมากขึ้น และทาง AICAT ได้ให้โควตาจํานวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น
100 คน จึงได้ขยายให้มีการเปิดศูนย์เตรียมความพร้อมขึ้นที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม และศรีสะเกษในปี 2546-2549 จํานวนนักศึกษาได้เพิ่มขึ้นเป็น150 คน และจัดให้มีเฉพาะโครงการ ปวส. พืชศาสตร์ทวิภาคีไทย-อิสราเอล ดังนั้น จึงได้ขยายให้มีการเปิดศูนย์การเตรียมความพร้อมเป็นแห่งที่
4 ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น
ในปี 2550 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่นได้ถอนตัวออกจากโครงการ จึงเหลือศูนย์ที่ดําเนินการอยู่ 3 ศูนย์ คือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด มหาสารคาม และศรีสะเกษโดยมีผู้อํานวยการสมศักดิ์ ปาละจูม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ดเป็นประธานโครงการ และปัจจุบัน นักศึกษารุ่นที่ 10 จํานวน 150 คน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อให้โอกาสแก่นักศึกษาที่สนใจด้านการเกษตร ไปศึกษาและปฏิบัติงานที่ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าอย่างยิ่งทางด้านการเกษตร
2. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติงานจริงในฟาร์ม (on the job training) และสามารถนําเอาความรู้ และประสบการณ์นั้นๆมา ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรไทยที่สนใจได้ อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม ของประทศไทยได้
3. เพื่อให้นักศึกษาได้สําเร็จหลักสูตร ปวส. พืชศาสตร์ ภายใน 2 ปีการศึกษา จากความร่วมมือกับArava International Center for Agriculture and Training (AICAT)
วิธีดําเนินงาน
1. บุคลากรสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือบุคลากรสังกัดวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 3 แห่ง นิเทศนักศึกษาปีการศึกษา 2550 ณ ประเทศอิสราเอล
2. มอบตัว/ลงทะเบียน นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั่วประเทศ ที่ศูนย์ทั้ง 3 แห่ง
3. เข้าค่ายปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโครงการ
4. นักศึกษาลงทะเบียนเรียน
4.1. ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนพิเศษที่ 1 (มีนาคม – เมษายน)
4.2. ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนพิเศษที่ 2 (เมษายน – พฤษภาคม)
4.3. ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 1 (พฤษภาคม – สิงหาคม)
4.4. การศึกษาและฝึกปฏิบัติงานด้านการเกษตรที่ประเทศอิสราเอล (กันยายน– กรกฎาคม)
4.5. ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 4 (ตุลาคม– กุมภาพันธ์ )
5. ฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และฝึกอบรมคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร (จัดอบรมนอกเวลาเรียนปกติ) ความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนการเดินทางไปประเทศอิสราเอล(มีนาคม – สิงหาคม)
6. จัดทัศนศึกษาฟาร์มเกษตรกร 3-5 ครั้ง ก่อนเดินทางไปประเทศอิสราเอล
7. พิธีเปิดโครงการฯ ปีการศึกษา
8. ตรวจโรคครั้งที่ 1
9. เข้าค่ายภาษาอังกฤษเข้มข้นก่อนเดินทาง
10. ตรวจโรคครั้งที่ 2 และนําส่งสนามบิน
11. ศึกษาและปฏิบัติงานในฟาร์มเกษตรกรชาวยิว
12. ทํา Mini project
13. กลับประเทศไทยและเรียนในภาคเรียนที่ 4
14. จบการศึกษา ระดับ ปวส. พืชศาสตร์
|