จังหวัดศรีสะเกษ
ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัดศรีสะเกษ
|
สัญลักษณ์:
- เป็นรูปปรางค์กู่ มีภาพต้นลำดวน เป็นองค์ประกอบ
2 ข้างของปรางค์กู่ และด้านล่าง ของภาพปราสาทเป็น
ภาพดอกลำดวน มีใบ 6 ใบ
ความหมาย:
- รูปปราสาทหิน หมายถึง ปราสาทสระกำแพง มีอยู่สองแห่งในจังหวัดนี้ คือ ปราสาทหิน สระกำแพงใหญ่ และปราสาทหิน
สระกำแพงน้อย เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด
|
ข้อมูลจาก : http://welovethailand.webatu.com/S8.html
ข้อมูลทั่วไป |
ชื่ออักษรไทย |
ศรีสะเกษ |
ชื่ออักษรโรมัน |
Si
Sa Ket |
ผู้ว่าราชการ |
นายสมศักดิ์
สุวรรณสุจริต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2553) |
ISO 3166-2 |
TH-33 |
สีประจำกลุ่มจังหวัด |
สีส้ม
|
ต้นไม้ประจำจังหวัด |
ลำดวน |
ดอกไม้ประจำจังหวัด |
ลำดวน |
ข้อมูลสถิติ |
พื้นที่ |
8,839.976
ตร.กม.[1] (อันดับที่
21) |
ประชากร |
1,452,471
คน[2]
(พ.ศ. 2553) (อันดับที่
9) |
ความหนาแน่น |
163.61
คน/ตร.กม. (อันดับที่
19) |
ศูนย์ราชการ |
ที่ตั้ง |
ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ
ถนนเทพา ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ
จังหวัดศรีสะเกษ 33000 |
โทรศัพท์ |
(+66)
0 4561 1139 |
เว็บไซต์ |
จังหวัดศรีสะเก |
|
จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งใน 77 จังหวัดของประเทศไทย ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 8,840 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 1.45 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 9 ของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาถิ่นอีสาน ภาษาเขมร (เขมรสูง) และภาษากวย (กูย, โกย, ส่วย)
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดยโสธร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดร้อยเอ็ด
การปกครองจังหวัดศรีสะเกษแบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอ 206 ตำบล และอีก 2,557 หมู่บ้าน อำเภอได้แก่
|
1.อำเภอเมืองศรีสะเกษ
|
12.อำเภอห้วยทับทัน
|
2.อำเภอยางชุมน้อย
|
13.อำเภอโนนคูณ
|
3.อำเภอกันทรารมย์
|
14.อำเภอศรีรัตนะ
|
4.อำเภอกันทรลักษ์
|
15.อำเภอน้ำเกลี้ยง
|
5.อำเภอขุขันธ์
|
16.อำเภอวังหิน
|
6.อำเภอไพรบึง
|
17.อำเภอภูสิงห์
|
7.อำเภอปรางค์กู่
|
18.อำเภอเมืองจันทร์
|
8.อำเภอขุนหาญ
|
19.อำเภอเบญจลักษ์
|
9.อำเภอราษีไศล
|
20.อำเภอพยุห์
|
10.อำเภออุทุมพรพิสัย
|
21.อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
|
11.อำเภอบึงบูรพ์
|
22.อำเภอศิลาลาด
|
การปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 196 แห่ง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ประกอบด้วย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง
2 แห่ง
เทศบาลตำบล
23 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 196 แห่ง
- องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอเมืองศรีสะเกษ
- เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
- เทศบาลตำบลน้ำคำ
อำเภอยางชุมน้อย
อำเภอกันทรารมย์
อำเภอกันทรลักษ์
- เทศบาลเมืองกันทรลักษ์
- เทศบาลตำบลสวนกล้วย
อำเภอขุขันธ์
อำเภอไพรบึง
อำเภอปรางค์กู่
|
อำเภอขุนหาญ
- เทศบาลตำบลขุนหาญ
- เทศบาลตำบลโนนสูง
- เทศบาลตำบลสิ
- เทศบาลตำบลกันทรอม
- เทศบาลตำบลกระหวัน
- เทศบาลตำบลโพธิ์กระสัง
อำเภอราษีไศล
อำเภออุทุมพรพิสัย
- เทศบาลตำบลกำแพง
- เทศบาลตำบลสระกำแพงใหญ่
- เทศบาลตำบลโคกจาน
- เทศบาลตำบลอุทุมพรพิสัย
|
อำเภอบึงบูรพ์
อำเภอห้วยทับทัน
อำเภอศรีรัตนะ
อำเภอวังหิน
อำเภอพยุห์
|
รายพระนามและรายนามผู้ว่าราชการจังหวัด
รายพระนามและรายนาม
|
ปีที่ดำรงตำแหน่ง
|
1. พระยาบำรุงบุรประจันทต์ (จันดี) |
พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2452 |
2. พระยาประชากิจ (ทับ มหาเปาระยะ) |
พ.ศ. 2452 – พ.ศ. 2454 |
3. พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุญนาค) |
พ.ศ. 2454 – พ.ศ. 2456 |
4. ร้อยเอก พระอินทร์ประสิทธิศร (เชื้อ ทองอุทัย) |
พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2457 |
5. อำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าถูกกวิลสุขสวัสดิ์ |
พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2459 |
6. อำมาตย์โท พระภักดีศรีสุนทรราช (ดิศ โกมลบุตร) |
พ.ศ. 2459 – พ.ศ. 2461 |
7. อำมาตย์เอก พระยาวิเศษชัยชาญ (ชอุ่ม อมัตติรัตน์) |
พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2465 |
8. อำมาตย์โท พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) |
พ.ศ. 2465 |
9. อำมาตย์โท พระวิสุทธราชรังสรรค์ (ใหญ่ บุญนาค) |
พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2472 |
10. อำมาตย์ตรี พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) |
พ.ศ. 2472 – พ.ศ. 2473 |
11. อำมาตย์โท พระศรีวิชัยบริบาล (สวัสดิ์ ปัทมดิลก) |
พ.ศ. 2473 – พ.ศ. 2478 |
12. หลวงศรีราชรักษา (ผิว ชาศรีรัฐ) |
พ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2481 |
13. พระศรีราชสงคราม (ศรีสุขวาที) |
พ.ศ. 2481 |
14. พระบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม ขนิษฐายนต์ |
พ.ศ. 2482 – พ.ศ. 2483 |
15. หลวงปริวรรควรจิตร (จันทร์ เจริญไชยา) |
พ.ศ. 2484 – พ.ศ. 2485 |
16. นายชอบ ชัยประภา |
พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2488 |
17. ขุนบำรุงรัตนบุรี (ปกรณ์ จุฑะพุทธิ) |
พ.ศ. 2488 – พ.ศ. 2489 |
18. นายศิริ วรนารถ |
พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2490 |
19. นายเติม ศิลปิ |
พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2492 |
20. นายพินิต โพธิพันธ์ |
พ.ศ. 2492 – พ.ศ. 2495 |
21. ขุนวัฒนานุรักษ์ (ประจักษ์ วงศ์รัตน์) |
พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2498 |
22. นายกิติ ยธการี |
พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2500 |
23. นายจาด
อุรัสยะนันทน์ |
พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2501 |
24. นายวรวิทย์ รังสิโยทัย |
พ.ศ. 2501 – พ.ศ. 2504 |
25. นายรังสรรค์ รังสิกุล |
พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2512 |
26. นายกำเกิง สุรการ |
พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2514 |
27. นายประมวล รังสิคุต |
พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2516 |
28. นายเชื้อ เพ็ชรช่อ |
พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2517 |
29. นายพิศาล
มูลศาสตรสาทร |
พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518 |
30. นายกรี รอดคำดี |
พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2521 |
31. นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ |
พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2524 |
32. เรือตรี ดนัย เกตุสิริ ร.น. |
พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2528 |
33. นายจำลอง ราษฎร์ประเสริฐ |
พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2531 |
34. นายธวัช โพธิสุนทร |
พ.ศ. 2531 – พ.ศ. 2533 |
35. ร้อยตรี สมจิตต์ จุลพงษ์ |
พ.ศ. 2533 – พ.ศ. 2535 |
36. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี |
พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536 |
37. นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ |
พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2540 |
38. นายพจน์ ใจมั่น |
พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2542 |
39. นายโกสินทร์ เกษทอง |
พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2544 |
40. นายสุจริต นันทมนตรี |
พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2545 |
41. นายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี |
พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2546 |
42. นายถนอม ส่งเสริม |
พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2548 |
43. นายสันทัด จัตุชัย |
พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2550 |
44. นายก้องเกียรติ อัครประเสริฐกุล |
พ.ศ. 2550 |
45. นายเสนีย์ จิตตเกษม |
พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2552 |
46. นายระพี ผ่องบุพกิจ |
พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2553 |
47. นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ |
พ.ศ. 2553 |
48. นายสมศักดิ์
สุวรรณสุจริต |
พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน |
การเลือกตั้งจังหวัดศรีสะเกษ
แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 เขต มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 9 คน และสมาชิวุฒิสภา 1 คน ดังนี้
เขต 1 ประกอบด้วย อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรารมย์ อำเภอโนนคูณ อำเภอพยุห์ อำเภอราษีไศล อำเภอศิลาลาด อำเภอบึงบูรพ์ และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
ธเนศ เครือรัตน์ พรรคเพื่อไทย
ปวีณ แซ่จึง พรรคเพื่อไทย
สุรชาติ ชาญประดิษฐ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 2 ประกอบด้วย อำเภอเมืองจันทร์ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอห้วยทับทัน อำเภอวังหิน อำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุขันธ์ และอำเภอภูสิงห์
จิรวดี จึงวรานนท์ พรรคประชาราช
พรศักดิ์ เจริญประเสริฐ พรรคเพื่อไทย
วีระพล จิตสัมฤทธิ์ พรรคเพื่อไทย
เขต 3 ประกอบด้วย อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุนหาญ อำเภอไพรบึง อำเภอศรีรัตน อำเภอเบญจลักษ์ และอำเภอน้ำเกลี้ยง
ธีระ ไตรสรณกุล พรรคเพื่อไทย
วิวัฒน์ชัย โหตระไวศย พรรคเพื่อไทย
อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ พรรคภูมิใจไทย
สมาชิกวุฒิสภา
จิตติพจน์ วิริยะโรจน์
สภาพทั่วไป
ภูมิประเทศจังหวัดศรีสะเกษนั้น ตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักซึ่งทอดตัวในแนวตัวตกและตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยอดเขาสูงสุดในจังหวัดชื่อ "พนมโนนอาว" สูงหกร้อยเจ็ดสิบเอ็ดเมตรจากระดับทะเลปานกลาง โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จากเขาพนมโนนอาวนี้ พื้นที่ค่อย ๆ ลาดต่ำขึ้นไปทางเหนือลงสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลอนลาด มีระดับความสูงระหว่างหนึ่งร้อยห้าสิบเมตรถึงสองร้อยเมตรจากระดับทะเลปานกลาง มีลำน้ำหลายสายไหลผ่านที่ราบลอนลาดนี้ลงไปยังแม่น้ำมูลซึ่งได้แก่ ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ และห้วยขะยุง
ตัวเมืองตั้งอยู่ฝั่งห้วยสำราญ ห่างจากแม่น้ำมูลไปทางทิศใต้ประมาณสิบกิโลเมตร และอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางหนี่งร้อยยี่สิบหกเมตร
ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำมูลไหลผ่านเขตอำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ เป็นระยะทางยาวประมาณหนึ่งร้อยยี่สิบกิโลมเตร บริเวณนี้ถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่อันอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 115-130 เมตร
ทุ่งกุลาร้องไห้
ทุ่งกุลาร้องไห้ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้
ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย
ภูมิอากาศลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดจะมีปริมารฝนตกน้อย และไม่ค่อยสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะมีฝนตก 100 วัน ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ยร้อยละ 66-73
ทรัพยากร
ป่าไม้ลักษณะป่าไม้ของจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยป่ายาง ไม้เต็ง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้กระบาก และไม้เบญจพรรณ จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ป่าไม้แยกเป็นป่าอนุรักษ์ (3 แห่ง 472,075 ไร่) ป่าสงวน (4 ป่า 92,042 ไร่) ป่าชุมชน (อยู่ในเขตป่าสงวน 25,621 ไร่, ป่าไม้ 1,845 ไร่, ป่าสาธารณะประโยชน์ 7,094 ไร่) ป่าเศรษฐกิจ (Zone E: 825,246 ไร่) พื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์ร้อยละ 11.67 ของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
สภาพภูมิอากาศจังหวัดศรีสะเกษ
สามารถดูข้อมูลได้ ที่นี่
แหล่งน้ำจังหวัดศรีสะเกษ
มีแหล่งน้ำที่สำคัญและมีผลต่อกิจกรรมการเกษตร การประมง ดังนี้
แม่น้ำมูล ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาดงพญาเย็นในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ไหลเข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอราษีไศล ไหลผ่านอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์ แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำชี ที่จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ทางทิศเหนือของแม่น้ำมูลลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีสภาวะน้ำท่วมขังในฤดูฝน
ห้วยทับทัน ไหลมาจากอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย ไหลลงไปบรรจบแม่น้ำมูลบริเวณอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
ห้วยสำราญ ไหลมาจากเขตอำเภอปรางค์กู่ ผ่านอำเภอเมืองศรีสะเกษ แล้วไหลลงแม่น้ำมูล ที่เขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ
ห้วยศาลา เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ดัดแปลงทำเป็นเขื่อนเก็บน้ำที่ไหลมาจากห้วยสำราญและมีต้นน้ำจากห้วยพนมดงรัก สามารถบรรจุน้ำได้สูงสุด 52.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ทำการชลประทาน จำนวน 20,400 ไร่ มีน้ำตลอดปี
เขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนคอนกรีต มีบานประตูระบายน้ำ 7 บาน กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอน ตั้งอยู่ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำในปี พ.ศ. 2536
ประชากรในจังหวัดศรีสะเกษมีชุมชนหลายกลุ่มอาศัยอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการอพยพย้ายครัวเข้ามาของคนเชื้อชาติต่าง ๆ ในอดีต แม้ปัจจุบันยังคงเห็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพและวัฒนธรรมของกลุ่มคนเหล่านั้นอยู่ กลุ่มคนที่ว่านี้ได้แก่ ชาวลาว ชาวเขมร ชาวส่วยหรือกูย และเยอ ในปี พ.ศ. 2553 มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น 1,446,345 คน เป็นชาย 722,797 คน เป็นหญิง 723,543 คน
เศรษฐกิจโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษขึ้นอยู่กับ ภาคการขายส่งขายปลีก ภาคเกษตร และด้านการศึกษา เป็นสำคัญ โดยในปี พ.ศ. 2552 มีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) เป็น 13,747 ล้านบาท (26.46 %) 12,383 ล้านบาท (23.84 %) และ 7,830 ล้านบาท (15.07%) ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งสิ้น 51,946 ล้านบาท และรายได้เฉลี่ยของประชากร 33,913 บาท/คน/ปี
ภาวะเศรษฐกิจทั่วไปภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ มีการขยายตัวเล็กน้อย ภาคการเกษตรมีผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลไม้เริ่มมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาด ด้วยราคาผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักปรับตัวลดลง ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อย ด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนขยายตัวเล็กน้อยตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การลงทุนภาคเอกชนหดตัว เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรม มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 423 โรงงาน ทุนจดทะเบียนจำนวน 3,294.687 ล้านบาท
ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) จังหวัดศรีสะเกษมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP ปีละประมาณ 1,356.798 ล้านบาท ในด้านภาคการค้าชายแดน จังหวัดศรีสะเกษมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา และมีจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนถาวรที่เป็นเส้นทางสำคัญในการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ซึ่งสถานการณ์การค้าชายแดนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่าการค้าในแต่ละปีเพิ่มสูงมาก โดยในปี 2544 มีมูลค่ารวม 48.107 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2552 มีมูลค่ารวม 1,090.681 ล้านบาท (มูลค่าการส่งออก 905.638 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 185.044 ล้านบาท)
การคมนาคม
แผนที่ท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษจากกรุงเทพมหานครสามารถเดินทางไปยังจังหวัดศรีสะเกษได้ดังนี้
โดยรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มาลงที่สถานีศรีสะเกษ ระยะทาง 515.09 กิโลเมตร
โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงทางแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่กิโลเมตรที่ 107 แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถึงจังหวัดนครราชสีมา แยกทางขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์จึงถึงจังหวัดศรีสะเกษ รวมระยะทาง 571 กิโลเมตร
โดยรถโดยสารประจำทาง สามารถเดินทางจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มาลงที่สถานีรขนส่งผู้โดยสารจังหวัดศรีสะเกษได้โดยตรง
โดยเครื่องบิน สามารถเดินทางโดยสายการบินภายในประเทศมายังท่าอากาศยานอุบลราชธานี และเดินทางต่อมายังจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยระยะทางอีกประมาณ 60 กิโลเมตร
ารศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ
มีสถานศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,030 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 972 แห่ง (สพฐ. 914 แห่ง, เอกชน 28 แห่ง, อาชีวศึกษา 6 แห่ง, กศน. 22 แห่ง, สกอ. 2 แห่ง) และโรงเรียนนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 51 แห่ง (อปท. 39 แห่ง, ตชด. 1 แห่ง, พศ. 9 แห่ง, สพล. 2 แห่ง)
โรงเรียน
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ
ระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดศรีสะเกษ
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ศูนย์วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาศรีสะเกษ
วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
แหล่งประวัติศาสตร์
ปราสาทสระกำแพงใหญ่บริเวณที่ตั้งของจังหวัดนี้เคยเป็นอู่วัฒนธรรมสมัยทวารวดีและอาณาจักรเขมรโบราณเช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล พบร่องรอยเมืองโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบสองชั้น ภายในเมืองมีซากโบราณสถานและใบเสมาอันแสดงถึงร่องรอยการนับถือพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังพบปราสาทและปรางค์กู่อีกหลายแห่ง โดยเป็นศิลปะเขมรราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
แหล่งทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์ และปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่
แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนาธรรมหลายแห่ง อาทิ
ผามออีแดงอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ปราสาทเขาพระวิหาร
ผามออีแดง
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย
ปราสาทสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย
ปราสาทห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน
ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์
ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์
ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ
พระธาตุเรืองรอง อำเภอเมืองศรีสะเกษ
ห้างสรรพสินค้าจังหวัดศรีสะเกษ
มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ดำเนินการเปิดสาขาในพื้นที่ของจังหวัด ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าแม็คโคร สาขาศรีสะเกษ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาศรีสะเกษ (โรงภาพยนตร์ MVP Cineplex) ห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส สาขาศรีสะเกษ และเทสโก้ โลต้ส (คุ้มค่า) ในอำเภอขุขันธ์ กันทรลักษ์ และอุทุมพรพิสัย
นอกจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีสาขาทั่วประเทศไทยแล้ว ยังมีห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นที่ดำเนินการในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3 แห่ง คือ ห้างสรรพสินค้าทวีกิจ สาขาอุทุมพรพิสัย ห้างสรรพสินค้าทวีกิจ สาขากันทรลักษ์ กันทรลักษ์พลาซ่า และห้างสรรพสินค้าซุ่นเฮง พลาซ่า
อ้างอิง
1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
2. ประกาศสานักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2459" (2459, 28 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 33). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/51.PDF. (เข้าถึงเมื่อ: 26 กันยายน 2551).
4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481" (2481, 14 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 55). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/A/658.PDF. (เข้าถึงเมื่อ: 26 กันยายน 2551).
5. กรมศิลปากร. ตราประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542.
ไพฑูรย์ พงศะบุตร. (2549). "ศรีสะเกษ". สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน (เล่ม 26: ฤ, ฤๅ-สตูล). กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์. หน้า 16819-19822.
ที่มา : วิกีพีเดีย
|